วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เรื่องย่อ


                  เริ่มจากร่ายที่กล่าวถึงพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ตามขนบของการแต่งลิลิต แผ่นดินไทยเปลี่ยนกษัตริย์จากพระมหาธรรมราชามาเป็นแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฝ่ายพม่าขณะนั้นพระเจ้าหงสาวดี(นันทบุเรง) จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชา (มังกะยอชวา) ออกไปดูลาดเลา ถ้าเห็นว่าไทยแย่งราชสมบัติกันระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถก็ให้ถือโอกาสรบเลย พระมหาอุปราชาไม่รับปากในทันที เพราะโหรทำนายว่าพระเคราะห์ถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสให้พระมหาอุปราชาเกิดขัตติยมานะขึ้น โดยตรัสว่า ให้ไปสวมเสื้อสตรีจะได้สร่างเคราะห์ พระมหาอุปราชาจึงออกรบทั้งเพราะกลัวพระราชอาญา อับอายหมู่อมาตย์ และเกิดขัตติยมานะ ทรงออกเดินทางพร้อมกับกองทัพจำนวน 500000 คน ก่อนออกเดินทางได้ล่ำลานางสนม พระมหาอุปราชาทรงเดินทางผ่านแม่น้ำแม่กษัตริย์ เมิ่อมาถึงที่ลำกระเพินมีรับสั่งให้สร้างสะพานขึ้นมาเพื่อใช้ข้ามฟากมาไทย เมื่อเดินทางถึงตำบลพนมทวน ได้เกิดลางร้ายขึ้นแก่องค์พระมหาอุปราชา คือ ลมเวรัมภาพัดฉัตร 5 ชั้นของพระองค์หัก ทรงเสียขวัญ รับสั่งให้โหรทำนายเกี่ยวกับเหตุที่เกิดขึ้น โหรจำต้องกราบบังคมทูลว่าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นตอนเย็นจะดี พระมหาอุปราชาก็ไม่ค่อยทรงเชื่อในคำทำนายนั้น ทรงรำลึกถึงพระราชบิดาและประเทศพม่า
เมืองกาญจนบุรีทราบว่ากองทัพพม่ายกมาจึงให้ขุนแผนนำข่าวมาบอกแก่สมเด็จพระนเรศวร แล้วชาวเมืองกาญจนบุรีก็พากันหลบหนีเข้าไปในป่า สมเด็จพระนเรศวรทรงตระเตรียมจะยกทัพไปตีเขมร เพราะเขมรชอบต้อนคนไปเป็นเชลย เมื่อเห็นว่าไทยกำลังทำสงครามกับต่างชาติอยู่ ทรงเป็นห่วงว่าจะไม่มีใครดูแลพระนคร ทันใดนั้นทูตเมืองกาญจนบุรีก็มาบอกข่าวแก่พระองค์ว่าพม่ายกทัพมาแล้ว สมเด็จพระนเรศวรรู้สึกดีพระทัยมาก ทรงถามหมู่อมาตย์ว่าควรยกทัพไปสู้นอกเมืองดีหรือไม่ ทั้งทหารและพระองค์ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าควรยกทัพไปสู้นอกเมือง สมเด็จพระนเรศวรทรงส่งทัพหน้าเดินทางไปก่อนโดย ให้ชาวเมืองราชบุรีทำลายสะพานที่ลำกระเพิน เพราะหมายจะทรงเผด็จศึกภายในประเทศ และกองทัพหน้าตั้งที่หนองสาหร่าย ชัยภูมิพยุหไกสสร (สีหนาม) จัดแบบตรีเสนาเก้ากอง กองทัพของไทยมีทั้งสิ้นห้าหมื่นคน กองทัพหน้าของไทยปะทะกับพม่าที่ตำบลโคกเผาข้าว สมเด็จพระนเรศวรทรงให้โหรมามหุติฤกษ์ เพื่อยกทัพหลวงตามไป ได้ฤกษ์ รวิวารมหันต์ 11 ค่ำ ย่ำรุ่ง 2 นาฬิกา เศษสังขยา 5 บาท เดือนบุษยมาส (วันอาทิตย์ 11 ค่ำ ตอนแปดโมงครึ่ง เดือนมกราคม) ต่อมาทรงยกพลขึ้นบกที่ตำบลป่าโมก คืนนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบินว่า ได้สู้กับจระเข้ซึ่งมาพร้อมกับสายน้ำจากทิศตะวันตก พระองค์สามารถฆ่าจระเข้ตายได้ เมื่อทรงตื่นบรรทมให้โทรทำนาย โหรทำนายว่าความฝันครั้งนี้เป็นเพราะเทพสังหรณ์หมายความว่า จะทรงชนะศึกและฆ่าพระมหาอุปราชาได้ เช้าวันรุ่งขึ้น ระหว่างรอฤกษ์เดินทัพ สมเด็จพระนเรศวรและเหล่าพลได้เห็นนิมิต คือ พระบรมสารีริกธาตุลอยมาจากทิศใต้เวียนขวา 3 ครั้งแล้วหายไปทางทิศเหนือ ขณะที่กองทัพไทยกำลังทำพิธีโขลนทวาร ก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้น สมเด็จพระนเรศวรให้คนไปสืบลาดเลาได้ตัวทหารมานายหนึ่ง สืบถามได้ว่ากองทัพหน้าของไทยแตก หมูอมาตย์แนะนำว่าควรยกทัพไปหนุนช่วยกองทัพหน้า แต่สมเด็จพระนเรศวรไม่ทรงเห็นด้วย ทรงเห็นว่า ควรใช้อุบายลวงพม่าโดยให้กองทัพหน้าหนีมาเรื่อยๆจนกองทัพหน้าเกิดความชะล่าใจ แล้วกองทัพหลวงคอยยกทัพหน่วงเข้ามา เมื่อช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและช้างทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถได้ยินเสียงปืนก็เกิดตกมันวิ่งฝ่าเข้าไปในกองทัพหม่า ทันใดนั้นก็เกิดฝุ่นเต็มสนามรบเพราะเทวดา ทหารพม่าแม้นจะยิงอาวุธเท่าไหร่ก็ไม่สามารถมาถูกต้องพระวรกายของสองพระองค์ได้ สมเด็จพระนเรศวรทรงอธิษฐานขอเทพให้ฝุ่นเหล่านี้หมดไป เมื่ออธิษฐานเสร็จ ฝุ่นก็จางหายไป
พระมหาอุปราชาให้คนแต่งตัวแบบพระองค์ถึง 16 คน แต่พระนเรศวรสังเกตจากเครื่องยศและทหารแวดล้อมจึงทรงทราบว่าพระมหาอุปราชาคือคนไหน สมเด็จพระนเรศวรทรงท้าและเชิญชวนสมเด็จพระมหาอุปราชามาชนช้าง ในพระราชดำรัสครั้งนั้นแสดงให้เห็นว่าทรงชื่นชมการชนช้างมาก พระมหาอุปราชาทรงเกิดขัตติยมานะออกรบ สมเด็จพระนเรศวรชนช้างกับพระมหาอุปราชา ทรงใช้พระแสงดาบพลพ่ายฟันสมเด็จพระมหาอุปราชาขาดคอช้าง ฝ่ายสมเด็จพระเอกาทศรถก็ทรงสู้กับมางจาชโร และทรงฆ่ามางจาชโรตาย สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างสถูปประกาศวีรกรรมให้อนุชนได้ทราบที่ตำบลตระพังตรุ ทรงให้เจ้าเมืองมล่วนกลับไปทูลข่าวสารการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแก่พระเจ้ากรุงหงสาวดี และทรงปูนบำเหน็จรางวัลเกียรติยศแก่เจ้าราราฆะและขุนศรีคชคง และให้บำเหน็จรางวัลแก่ครอบครัวของหมื่นภักดีควรและนายมหานุภาพ สมเด็จพระนเรศวรจะทรงคาดโทษผู้ไม่ตามเสด็จเข้าไปในกองทัพพม่าตามกฎอัยการศึก แต่สมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้วและพระราชาคณะเดินทางมาขอพระราชทานอภัยโทษแก่มวลทหาร โดยกล่าวว่าพระองค์สามารถรบชนะด้วยตนเอง และควรให้โอกาสทหารเหล่านี้แก้ตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น