วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทนำ


              ลิลิตตะเลงพ่าย   ตะเลง แปลว่า มอญ  พ่าย แปลว่า แพ้ รวมความหมายว่า มอญแพ้  แต่ในที่นี้ หมายถึง รวมพม่าด้วย เพราะเมื่อพม่าได้ครอบครองดินแดนและยึดเมืองหลวงของมอญ คือ กรุงหงสาวดี เป็นเมืองหลวงของตน พระเจ้าแผ่นดินจึงเป็นพระเจ้าแผ่นดินมอญด้วย และทหารที่เกณฑ์มารบก็มีทหารมอญปะปนมาด้วยมากมาย เราจึงเรียกพม่าและมอญรวมๆไปว่า ” ตะเลง ”
ความหมายของ ลิลิต
             ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า “เข้าลิลิต”
วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ
ลิลิตที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดของโคลงลิลิต คือ ลิลิตพระลอ
ผู้แต่ง
            สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ทรงนิพนธ์ร่วมกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ (พระองค์เจ้ากปิษฐาขัตติยกุมาร)

ลักษณะการแต่ง
            แต่งด้วยลิลิตสุภาพ ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน ๔๓๙ บท
โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่าย ที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น
ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาฬ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์

จุดมุ่งหมายในการแต่ง
๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
๒. เพื่องานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ ๓
๓.สร้างสมบารมีของผู้แต่ง (เพราะผู้แต่งขอไว้ว่าถ้าแต่งเสร็จขอให้สำเร็จสู่ พระนิพพาน )
ที่มาของเรื่อง
๑.พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม)
๒.วรรณคดีเก่าเรื่อง ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ
๓.จินตนาการของผู้แต่ง คือ ช่วงบทนิราศ จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เนื้อเรื่องของลิลิตตะเลงพ่ายแบ่งเป็น 12 ตอน ดังนี้
ตอนที่ ๑ เริ่มบทกวี
ตอนที่ ๒ เหตุการณ์ทางเมืองมอญ
ตอนที่ ๓ พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี
ตอนที่ ๔ สมเด็จพระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร
ตอนที่ ๕ สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ
ตอนที่ ๖ พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ
ตอนที่ ๗ พระมหาอุปราชทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะทัพหน้าของไทย
ตอนที่ ๘ พระนเรศวรทรงปรึกษายุทธวิธีเอาชนะศึก
ตอนที่ ๙ ทัพหลวงเคลื่อนพล ช้างทรงพระนเรศวรและพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก
ตอนที่ ๑๐ ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย
ตอนที่ ๑๑ พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร
ที่มา : http://iam.hunsa.com/gamekadid/article/22597

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น