วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำประพันธ์ที่ใช้แต่ง

 ร่ายสุภาพ
                ร่ายสุภาพ คือ ร่ายที่กำหนดคำในวรรคและการสัมผัสเหมือนร่ายดั้นทุกประการ ส่วนการจบบท ใช้โคลงสองสุภาพจบ และนิยมมีคำสร้อยปิดท้ายด้วย และอาจแต่งให้มีคำสร้อยสลับวรรคก็ได้
                ร่ายสุภาพบทหนึ่งมีตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป และตอนท้ายต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ ร่ายสุภาพแต่ละวรรคกำหนดให้มี ๕ คำ เมื่อรวมกับโคลงสองสุภาพแล้วจะได้แผนผังดังนี้
สำหรับสัมผัสบังคับของร่ายสุภาพ กำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือที่ ๒ หรือที่ ๓ เพียงดำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไป การส่งสัมผัสเป็นไปเช่นนี้จนกระทั่งจบด้วย โคลงสองสุภาพ ส่วนสัมผัสในซึ่งเป็นสัมผัสที่ไม่บังคับในร่ายสุภาพใช้ไดทั้งสัมผัสพยัญชนะและ สัมผัสสระ แต่นิยมสัมผัสพยัญชนะมากกว่า
  
ตัวอย่างร่ายสุภาพ
 เสร็จเสาวนีย์สั่งสนม         เนืองบังคมคำราช         พระบาทบทันนิทรา         จวนเวลาล่วงสาง         พื้นนภางค์เผือดดาว         แสงเงินขาวขอบฟ้า         แสงทองจ้าจับเมฆ    ฯลฯ        ขอลาองค์ท่านไท้         ไปเผด็จดัสกรให้         เหือดเสี้ยนศึกสยาม         สิ้นนา

ลักษณะบังคับของโคลงสามสุภาพ
                โคลงสามสุภาพบทหนึ่งมี ๔ วรรค ๆ ละ ๕ คำ ยกเว้นวรรคสุดท้ายซึ่งมี ๔ คำ และมีคำสร้อย ตอนท้ายอีก ๒ คำ ดังแผนผังโคลงสามสุภาพดังนี้
                ๐ ๐ ๐ ๐ ๐               ๐ ๐ ๐ อ ท
                ๐ ๐ ๐ ๐ ท                          อ ท ๐ ๐ (๐ ๐)
                สัมผัสโคลงสามสุภาพกำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่๒ และคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓

ตัวอย่างโคลงสามสุภาพ
                ล่วงลุด่านเจดีย์               สามองค์มีแห่งหั้น
                แดนต่อแดนกันนั้น                       เพื่อรู้ราวทาง

ลักษณะบังคับของโคลงสองสุภาพ
                โคลงสองสุภาพบทหนึ่งมี ๓ วรรค ๆ หนึ่งมี ๕ คำ ยกเว้นวรรคสุดท้ายมีเพียง ๔ คำ ในตอนท้ายมีคำสร้อยได้ ๒ คำ ดังแผนผังดังนี้
                ๐ ๐ ๐ อ ท               ๐ อ ๐ ๐ ท
                อ ท ๐ ๐ (๐ ๐)
สัมผัสของโคลงสองสุภาพมีเพียงแห่งเดียว คือคำสุดท้ายของวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำสุด ท้ายของวรรคที่ ๒ 
ตัวอย่างโคลงสองสุภาพ
                พระฟังความลูกท้าว               ลาเสด็จศึกด้าว
                ดั่งเบื้องบรรหาร

ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ
                โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี ๔ บาท แต่ละบาทประกอบด้วย ๒ วรรค คือ วรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๒ คำ ยกเว้นบาทที่ ๔ ที่มีวรรคหลัง ๔ คำ นอกจากนี้ในบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓ อาจมีสร้อยคำได้อีกบาทละ ๒ คำ ดังแผนผังดังนี้
                ๐ ๐ ๐ อ ท               ๐ ๐ (๐ ๐)
                ๐ อ ๐ ๐ ๐                               อท
                ๐ ๐ อ ๐ ๐                               ๐ อ (๐ ๐)
                ๐ อ ๐ ๐ ท                               อ ท ๐๐
                โคลงสี่สุภาพบังคับคำเอก ๗ คำ คำโท ๔ คำ โดยถือรูปวรรณยุกต์เป็นเกณฑ์ และคำเอกอาจใช้คำตายแทนได้ สัมผัสโคลงสี่สุภาพได้แก่ คำสุดท้ายของบาทที่ 1(ไม่นับคำสร้อย) ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และบาทที่ ๓ คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔ส่วนสัมผัสในของโคลงสี่สุภาพนิยมสัมผัสอักษร
ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพ
                กระเต็นกระตั้วตื่น                แตกคน
                ยูงย่องยอดยูงยล                    โยกย้าย
                นกเปล้านกปลีปน                  ปลอมแปลก กันนา
                คล่ำคล่ำคลิ้งโคลงคล้าย        คู่เคล้าคลอเคลีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น