วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่อง

๑ .ความรอบคอบไม่ประมาท
ในเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายนี้เราจะเห็นคุณธรรมของพระนเรศวรได้อย่างเด่นชัด และ สิ่งที่ทำให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ มากที่สุดคือ ความรอบคอบ ไม่ประมาท
ดั่งโคลงสี่สุภาพตอนหนึ่งกล่าวว่า
พระห่วงแต่ศึกเสี้ยน              อัสดง
เกรงกระลับก่อรงค์               รั่วหล้า
             คือใครจักคุมคง                     ควรคู่ เข็ญแฮ
             อาจประกันกรุงถ้า                    ทัพข้อยคืนถึง
                หลังจากที่พม่ายกกองทัพเข้ามาพระองค์ก็ทรง สั่งให้พ่ายพลทหารไปทำลายสะพานเพื่อว่าเมื่อฝ่ายไทยชนะศึกสงคราม พ่ายพลทหารของฝ่ายพม่าก็จะตกเป็นเชลยของไทยทั้งหมด นั่นแสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีทัศนคติที่กว้างไกล ซึ่งมีผลมาจากความรอบคอบไม่ประมาท
๒ .การเป็นคนรู้จักการวางแผน
จากการที่เราได้รับการศึกษาเรื่องลิลิตตะเลง พ่ายเราจะเห็นได้ชัดเจนว่าในช่วงตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเปลี่ยนแผน การรบเป็นรับศึกพม่าแทนไปตีเขมร พระองค์ได้ทรงจัดการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไม่รอช้า ทรงแต่งตั้งให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้าและพระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพ หน้าตามด้วยแผนการอื่นๆอีกมากมายเพื่อทำการรับมือ และพร้อมที่จะต่อสู้กับข้าศึกศัตรูทางฝ่ายพม่า ยกตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่แสดงให้เราเห็นถึงการรู้จักการวางแผนของสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช
              พระพึงพิเคราะห์ผู้                  ภักดี ท่านนา
         คือพระยาจักรี                        กาจแกล้ว
                         พระตรัสแด่มนตรี                     มอบมิ่ง เมืองเฮย
                    กูไกลกรุงแก้ว                    เกลือกช้าคลาคืน
                เมื่อเราเห็นถึงคุณธรรมทางด้านการวางแผนแล้ว เราก็ควรเอาเยี่ยงอย่างเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตให้เป็นไปอย่างมีระเบียบ มีแบบแผน ซึ่งจากคุณธรรมข้อนี้ก็อาจช่วยเปลี่ยนแปลงให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน ให้กลายเป็นบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตทางด้านการวางแผนในการดำเนินชีวิตก็เป็น ได้ถ้าเรารู้จักการวางแผนให้กับตัวเราเอง
๓. การเป็นคนรู้จกความกตัญญูกตเวที
จากบทการรำพึงของพระมหาอุปราชาถึงพระราชบิดา นั้น แสดงให้เราเห็นอย่างเด่นชัดเลยทีเดียวว่าพระมหาอุปราชาทรงมีความห่วงใย อาทร ถึงพระราชบิดาในระหว่างที่ทรงออกรบ ซึ่งแสดงให้เราเห็นถึงความรักของพระองค์ที่มีต่อพระราชบิดา โดยพระองค์ได้ทรงถ่ายทออดความนึกคิด และรำพึงกับตัวเอง ดั่งโคลงสี่สุภาพที่กล่าวไว้ว่า
ณรงค์นเรศด้าว                     ดัสกร
ใครจักอาจออกรอน             รบสู้
              เสียดายแผ่นดินมอญ             มอด ม้วยแฮ
                    เหตูบ่มีมือผู้                            อื่นต้านทานเข็ญ
                ซึ่งเมื่อแปลจะมีความหมายว่า เมื่อยามที่สงครามขึ้นใครเล่าจะออกไปรบแทนท่านพ่อ จากโคลงนี้ไม่ได้แสดงให้เราเห็นถึงความกตัญญูที่มีต่อพระราชบิดาของพระมหา อุปราชาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความกตัญญู ความ
จงรัก ภักดี ต่อชาติบ้านเมืองอีก
๔. การเป็นคนช่างสังเกตและมีไหวพริบ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่มีพระปรีชาสามารถทางด้านการมีความสติปัญญาและมีไหวพริบเป็นเลิศ ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงมีคุณธรรมทางด้านการเป็น คนช่างสังเกตและมีไหวพริบ ด้วยเหตุนี้ทำให้พระองค์ทรงสามารถแก้ไขสถานการณ์อันคับขันในช่วงที่ตกอยู่ใน วงล้อมของพม่าได้ ซึ่งฉากที่แสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงมีคุณธรรมทางด้านนี้คือ
    โดยแขวงขวาทิศท้าว           ทฤษฎี แลนา
บัด ธ เห็นขุนกรี                    หนึ่งไสร้
          เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์                เรียงคั่ง ขูเฮย
             หนแห่งฉายาไม้                     ข่อยชี้เฌอนาม
             ปิ่นสยามยลแท้ท่าน              คะเนนึก อยู่นา
ถวิลว่าขุนศึกสำ-                    นักโน้น
                   ทวยทับเทียบพันลึก              แลหลาก หลายแฮ
             ครบเครื่องอุปโภคโพ้น           เพ่งเพี้ยงพิศวง
                สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้วิธีการสังเกตหา ฉัตร5ชั้นของพระมหาอุปราชา ทำให้พระองค์ทรงทราบว่าใครเป็นพระมหาอุปราชาทั้งๆที่มีทหารฝ่ายข้าศึกร่าย ล้อมพระองค์จนรอบ แต่ด้วยความมีไหวพริบพระองค์จึงตรัสท้ารบเสียก่อนเพราะถ้าพระองค์ไม่ทรงตรัส ท้ารบเสียก่อนพระองค์อาจทรงถูกฝ่ายข้าศึกรุมโจมตีก็เป็นได้ ดังนั้นเมื่อเราเห็นคุณธรรมของพระองค์ด้านนี้แล้วก็ควรยึดถือและนำไปปฏิบัติ ตามเพราะสิ่งดีๆเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลดีต่อตนเอง และต่อประเทศชาติได้
๕. ความซื่อสัตย์
จากเนื้อเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่าบรรดาขุน กรีและทหารมากมายทั้งฝ่ายพม่าและฝ่ายไทยมีความซื่อสัตย์และความจงรักภักดี ต่อประเทศชาติของตนมากเพราะจากการที่ศึกษาเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเรายังไม่ เห็นเลยว่าบรรดาทหารฝ่ายใดจะทรยศต่อชาติบ้านเมืองของตน ซึ่งก็แสดงให้เราเห็นว่าความซื่อสัตย์ในเราองเล็กๆน้อยๆก็ทำให้เราสามารถ ซื่อสัตย์ในเรื่องใหญ่ๆได้ซึ่งจากเรื่องนี้ความซื่อสัตย์เล็กๆน้อยๆของบรรดา ทหารส่งผลให้ชาติบ้านเมืองเกิดความเป็นปึกแผ่นมั่นคงได้
เราก็เช่นเดียวกัน….ถ้าเรารู้จักมีความ ซื่อสัตย์ต่อตนเองดั่งเช่นบรรดาขุนกรี ทหารก็อาจนำมาซึ่งความเจริญและความมั่นคงในชีวิตก็เป็นได้ซึ่งสิ่งนี้อาจส่ง ผลประโยชน์ต่อตนเอง ต่อครอบครัวและชาติบ้านเมือง
๖. การมีวาทศิลป์ในการพูด
จากเรื่องนี้มีบุคคลถึงสองท่านด้วยกันที่ แสดงให้เราเห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านการมีวาทศิลป์ในการพูด ท่านแรกคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในโคลงสี่สุภาพที่ว่า
            พระพี่พระผู้ผ่าน                   ภพอุต-ดมเอย
ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด            ร่มไม้
                    เชิญการร่วมคชยุทธ์              เผยอเกียรติ ไว้แฮ
          สืบว่าสองเราไซร้                   สุดสิ้นฤามี
                เราจะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงใช้วาจาที่ ไพเราะมีความสุภาพน่าฟังต่อพระมหาอุปราชาซึ่งเป็นพี่เมื่อครั้งที่สมเด็จพระ นเรศวรทรงประทับอยู่ทางฝ่ายพม่า   ท่านที่สองคือ สมเด็จพระวันรัต เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงมาขอพระราชทานอภัยโทษจากพระนเรศวร ให้กับบรรดาทหารที่ตามเสด็จพระนเรศวรในการรบไม่ทัน ซึ่งอยู่ในโคลงสี่สุภาพที่ว่า
        พระตรีโลกนาถแผ้ว             เผด็จมาร
เฉกพระราชสมภาร               พี่น้อง
              เสด็จไร้พิริยะราญ                 อรินาศ ลงนา
                     เสนอพระยศยินก้อง              เกียรติก้องทุกภาย
การมีวาทศิลป์ในการพูดของสมเด็จพระวันรัต ครั้งนี้ทำให้บรรดาขุนกรี ทหารได้รับการพ้นโทษดังนั้นจากคุณธรรมข้อนี้ทำให้เราได้ข้อคิดที่ว่า การพูดดีเป็นศรีแก่ตัวเมื่อเราทราบเช่นนี้แล้วเราทุกคนก่อนที่จะพูดอะไรต้อง คิดและไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะพูด
ข้อคิดจากเรื่อง
๑. ลิลิตตะเลงพ่ายสะท้อนให้เห็นความรักชาติ ความเสียสละ ความกล้าหาญ ของบรรพบุรุษ ซึ่งคนไทยควรภาคภูมิใจ
๒. แผ่นดินไทยต้องผ่านการทำศึกสงครามอย่างมากมายกว่าที่จะมารวมกันเป็นปึกแผ่นอย่างปัจจุบันนี้
๓. พระราชภารกิจของกษัตริย์ไทยในสมัยก่อน คือการปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขและรบเพื่อปกป้องอธิปไตยของไทย
คุณค่าจากเรื่อง
๑. เป็นวรรณคดีชั้นสูงของชาติซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีของวรรณคดีอื่นๆ
๒. ให้คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์หลายประการ เช่น การเล่นคำ การแทรกบทนิราศคร่ำครวญ การใช้โวหารต่างๆ การพรรณนาฉากที่ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วม และเกิดความรู้สึกคล้อยตาม
๓. ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และลักษณะผู้ฟังที่ดี
๔. ปลุกใจให้คนไทยรักและเทิดทูนแผ่นดินไทยจนพร้อมที่จะเสียสละเพื่อบ้านเมือง

ตอนที่ ๑๒ สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ

(ร่าย)       ไป่เกินกาลท่านสั่ง กระทั่งแรมสิบห้าค่ำ ย่ำสองนาฬิกาปลาย ทำงนงายพอเสร็จ จึ่งสมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้วแคล้วคลา กับราชาคณะสงฆ์ ยี่สิบห้าองค์สองแผนก แฉกงาสานสรล้าย ผ้ายลุยังวังราช พระบาทธให้นิมนต์ ดลเรือนรัตนมาฬก ตกแต่งอาสน์ลาดเจียม เตรียมเสร็จสงฆ์สู่สถิต บพิตรกรกรรมพุม ชุมบรรพชิตแช่มชื่น ขุนชีอื้นอวยพร ถามข่าวจรจอมภพ ซึ่งเสด็จรบพารณ จนอเรนทรพินาศ ขาดคอคชในรงค์ จึ่งพระองค์อิศเรศ บรรหารเหตุจำบัง จอมสงฆ์ฟังซั้นขาน พระราชสมภารมีชัย ใดทวยบาทมูลิกา ต้องอาชญายินแหนง ตรัสแสดงโดยดับ ว่านายทัพทั้งผอง เกณฑ์เข้ากองพยูห์ โยมสองตูต่อเข็ญ มันเห็นเศิกสระทก ตระดกดาระรัว ยิ่งกว่ากลัวสวามิศ บเต้าติดตูต้อย มละแต่ข้อยสองคน เข้าโรมรณราวิศ ในอมิตรหมู่กลาง แสนเสนางค์เนืองบร จนราญรอนไอยเรศ ลุชเยศมฤตยู จึ่งได้ดูหน้ามัน เพื่อมหันตบารเมศ เบื้องบุเรศบำรุง ผดุงเดชเผือพี่น้อง ผิบพ้องบุญบูรพ์ ไอยศูรย์เสียมภพ ตรลบเลื่องขามนามตะเลง ลือละเวงธาษตรี เป็นธรณีหงสา เสื่อมกฤตยาสยามยศ สาหสสหากมากมวล ควรลงทัณฑ์ถึงม้วย ด้วยพระอัยการศึก จารึกชื่อชั่วฟ้า ไว้เป็นขนบภายหน้า อย่าให้ใครยลเยี่ยงนา
โคลง๔
๏ สมเด็จพนรัตเจ้า                จอมชี
ฉลองพจน์ราชวาที                ท่านให้
ทวยทูลละอองธุลี                  บัวบาท  พระนา
พื้นภักดีต่อใต้                         บทเบื้องเรณู
๏ ดูผิดไป่รักท้าว                    ไป่เกรง
แผกระบอบแต่เพรง              ห่อนพ้อง
พระเดชหากแสดงเอง           อำนาจ  พระนา
เสนอทุกทวยธเรศก้อง          เกียรติอ้างอัศจรรย์   ฯลฯ
๏ พระตรีโลกนาถแผ้ว          เผด็จมาร
เฉกพระราชสมภาร               พี่น้อง
เสด็จไร้พิริยะราญ                 อรินาศ  ลงนา
เสนอพระยศยิ่งยินก้อง         เกียรติท้าวทุกภาย
๏ ผิวหลายพยุหยุทธ์ร้า          โรมรอน
ชนะอมิตรมวลมอญ             มั่วมล้าง
พระเดชบ่ดาลขจร                เจริญฤทธิ์  พระนา
ไปทั่วธเรศออกอ้าง               เอิกฟ้าดินไหว
๏ อย่าไทโทมนัสน้อย           หฤทยา
เพื่อพระราชกฤษฏา               แต่กี้
ทุกทวยเทพคณา                   ซุมซ่วย  พระเอย
แสดงพระเดโชชี้                   ชเยศไว้ในสนาม
โคลง๒
๏ สมดั่งความตูพร้อง            ขอบพิตรอย่าข้อง
ขุ่นแค้นเคืองกมล  ท่านนา
๏ โดยยุบลถ่องแท้                 ฤๅสนเท่ห์เล่ห์แล้
ถูกถ้อยแถลงการณ์   นี้นา
(ร่าย)       ปางนฤบาลบดินทร์ ยินสมเด็จพระวันรัต จำแนกอรรถบรรยาย ถวายวิสัชนาสาร โดยพิสดารพรรณนา เสนอสมญายศโยค พระบรมโลกโมลี ด้วยวิธีอุปมาแห่งกฤษฎาภินิหาร ดาลมนัสชุ่มชื้น ตื้นเต็มปรีดิ์ปราโมทย์ โอษฐ์ออกื้นสาธู ชูพระกรกรรพุม ชุมทศนัขเหนือผาก เพื่อยินมลากเลอมาน เจ้ากูขานคำขอบ ชอบทุกสิ่งจริงถ้อย ถวิลบ่แหนงหนึ่งน้อย แน่แท้แถลง แลนา
โคลง๔
๏ แจ้งเหตุแห่งเหือดขึ้ง          ในมนัส
จึ่งพระวันรัตวัด                     ป่าแก้ว
ถวายพรบวรศรีสวัสดิ์           สว่างโทษ  ท่านนา
นฤทุกข์นฤภัยแผ้ว                ผ่องพ้นอันตราย
๏ ทั้งหลายทวยบาทเบื้อง     บงกช
ควรโคตรโทษสาหส             อะคร้าว
แต่ทูลธุลีบท                          สนองบาท  มานา
เพรงพระอัยกาท้าว                ตราบไท้พระเจ้าหลวง
๏ ล่วงถึงบพิตรผู้                   เถลิงถวัลย-  ราชย์ฤๅ
คือพุทธบรรษัทสรรพ์           สืบสร้าง
เชิญดอดอวยทัณฑ์               ทวยโทษ  นี้นา
เลยอย่าลาญชีพมล้าง             หนึ่งครั้งขอเผือ
๏ ไว้เพื่อผดุงเดชเจ้า               จอมปราณ
ก่อเกิดราชรำบาญ                  ใหม่แม้
พูนเพิ่มพระสมภาร                เพ็ญภพ  พระนา
วายบ่หวังตนแก้                     ชอบได้ไป่มี
(ร่าย)       นฤบดีดาลสดับอรรถ ซึ่งพระวันรัตอภิปราย ถวายพระพรอาจายน์ โทษมวลมาตย์ทุกมุล เพื่อการุญบริรักษ์ ภักดีในบาทบงสุ์ จึ่งพระองค์อนุญาต พระราชทานโทษทั้งผอง โดยอันครองยศ บรรหารพจนพาที ซึ่งเจ้าชีขานขอ ข้อยยกยอโทษให้ แต่ชอบใช้ไปรอน เอานครตะนาวศรี บุรีทวายมริด ถ่ายหนผิดหาชอบ ขุนสงฆ์ตอบคำขาน ข้อโรมราญราวิศ ไป่เป็นกิจตูตาม ใช่เงื่อนงามบรรพชิต โดยพิตรอัธยา เบื้องบัญชาเชิงใช้ ขอลาไท้ลีลาศ ยังอาวาสเวียงวัด ตระบัดท่านจรลี พาเพื่อนชีอะคร้าว คืนสู่ด้าวอาราม เจ้าจอมสยามเสาวนีย์ เนืองมนตรีพ้นโทษ โปรดให้เนาตำแหน่ง แห่งฐานันดรยศ พระราชกำหนดโดยดับ ทัพเจ้าพระยาคลัง รังพลห้าหมื่นเสร็จ เห็จโหมเวียงทวาย หมายเจ้าพระยาจักรี พรักพิรีย์เทียบทัด รัดไปโรมตะนาวศรี ตีมริดเวียงชัย จึ่งชไมมาตยา บัลคลลายาตรพยู่ห์ สู่แดนเศิกโดยปอง ปิ่นเสียมสองสุริยชาติ ตรัสพิภาษพจนา ซึ่งอุตรานคเรศ เขตสีมาเมืองออก เลิกครัวครอกมาหลาย หมายบ่หมดทั้งผอง ตริไตรครองคราวศึก เสื่อมหาญฮึดแบ่งเบา จักโรมเราฤๅย่าน ฝีมือม่านมอญมวล ควรผดุงชนบท ปรากฏเกียรติยืนยง คงคู่กัลป์ประลัย เฉลิมแหล่งไผททั่วด้าว แสดงพระยศไทท้าว ธิราชไว้ไป่วาย นามนา  ฯลฯ
โคลง๔
๏ เสร็จแสดงพระยศเจ้า         จอมอยุธ- ยาแฮ
องค์อดิศรสมมุติ                    เทพไท้
นเรศวรรัตนมกุฎ                   เกศกษัตริย์  สยามฤๅ
หวังอยู่คู่ธเรศไว้                    ฟากฟ้าดินเฉลิม
๏รังเริ่มรจเรขอ้าง                  อรรถา  แถลงเอย
เสมอทิพย์มาลย์ผกา              เก็บร้อย
ฉลองบทรัชนรา-                      ธิปผ่าน  ภพฤๅ
โดยบ่เชี่ยวเชลงถ้อย             ถ่องแท้แลฉลาย
๏ บรรยายกลกาพย์แสร้ง      สมญา  ไว้แฮ
สมลักษณ์เล่ห์เสาวนา             เรื่องรู้
“ตะเลงพ่าย”เพื่อตะเลงปรา-      ชเยศ  พระเอย
เสนอฤทธิ์สองราชสู้                 ศึกช้างกลางสมร
๏ อวยพรคณะปราชญ์พร้อม   พิจารณ์  เทอญพ่อ
ใดวิรุธบรรหาร                        เหตุด้วย
จงเฉลิมแหล่งพสุธาร             เจริญรอด  หึงแฮ
มลายโลกอย่ามลายม้วย        อรรถอื้นอัญขยม
๏ กรมหมื่นนุชิต                      เชื้อ กวีวร
ชิโนรส  มิ่งมหิศร                     เสกให้
ศรีสุคต  พจนสุนทร               เถลิงลักษณ์  นี้นา
ขัตติยวงศ์  ผจงโอษฐ์ไว้        สืบหล้าอย่าศูนย์     ฯลฯ
๏ ผิววงว่ายวัฏเวิ้ง                    วารี  โอฆฤๅ
บลุโลกกุตรโมลี                     เลิศล้น
จงเจนจิตกวี                            วรวากย์  เฉลิยวเอย
ตราบล่วงบ่วงภพพ้น              เผด็จเสี้ยนเบียนสมร ฯลฯ

ถอดคำประพันธ์
ยังไม่พ้นเวลาที่สมเด็จพระนเรศวรทรงกำหนดไว้ พอถึงวันแรม 15 ค่ำ เวลาประมาณ 8 นาฬิกาเศษ สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้ว กับพระราชาคณะ 25 องค์ สองแผนก คือ ฝ่ายคามวาสี และ อรัญวาสี พากันไปยังพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้นิมนต์เข้าไปในท้องพระโรง สมเด็จพระนเรศวรทรงประนมพระหัตถ์แสดงคารวะ พระวันรัตได้ทูลถามข่าวที่สมเด็จพระนเรศวรทำยุทธหัตถีจนพระมหาอุปราชาขาดคอ ช้าง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงเล่าจบ พระวันรัตกราบทูลว่า พระมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงได้รับชัยชนะ เหตุใดเล่าเหล่าบริพารจึงต้องโทษ ได้ยินแล้วที่สงสัย สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสต่อไปว่า แม่ทัพนายกองทั้งปวงซึ่งได้รับเกณฑ์เข้าในกองทัพ เมื่อเห็นข้าศึกก็ตกใจกลัว ยิ่งกว่ากลัวพระองค์ซึ่งเป็นเจ้านาย ไม่ตามเสด็จให้ทัน ปล่อยให้พระองค์สองพี่น้องเข้าสู้รบท่ามกลางข้าศึกจำนวนมากจนมีชัยชนะรอดพ้น ความตายจึงได้มาดูหน้าพวกทหารเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะคุณความดียิ่งใหญ่ที่ได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองไว้คอยอุดหนุนพระบรม เดชานุภาพของพระองค์สองพี่น้อง ถ้าไม่ได้ความดีแต่เก่าแล้ว ประเทศไทยจะต้องสิ้นอำนาจเสียแผ่นดินแก่กรุงหงสาวดีเป็นการเสื่อมเสีย เกียรติยศ จึงควรลงโทษถึงตายตามพระอัยการศึกเพื่อให้เป็นตัวอย่างมิให้คนอื่นเอาเยี่ยง อย่างสืบไป
สมเด็จพระวันรัตจึงกราบทูลว่า “ บรรดา ข้าทูลละอองธุลีพระบาทล้วนมีความจงรักภักดี เป็นการผิดแปลกไปจากแบบแผนแต่ก่อนที่ว่าไม่จงรักยำเกรงพระองค์ ทั้งนี้เพราะพระบรมเดชานุภาพสำแดงให้ปรากฏแก่ปวงชนเป็นที่น่าอัศจรรย์จึง บันดาลให้เป็นเช่นนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ( พระตรีโลกนาถ ) ทรงชนะพระยามารลำพังพระองค์เอง เช่นเดียวกับสมเด็จพระนเรศวร พระเอกาทศรถ เสด็จไปปราบอริราชศัตรูจนแพ้พ่ายโดยปราศจากไพร่พล พระเกียรติยศจึงเลื่องลือกึกก้องไปทั่วทุกแห่งหน หากมีทหารล้อมมากมายถึงเอาชนะได้ พระเกียรติยศก็ไม่ฟุ้งเฟื่องเพิ่มพูนขึ้น และกษัตริย์ทั้งหลายก็จะไม่พากันออกพระนามเอิกเกริกกันเช่นนี้ ขอพระองค์ทั้งสองอย่าได้โทมนัสน้อยพระทัยไปเลย ทั้งนี้เพราะเพื่อราชกฤฎาภินิหารของพระองค์ ทวยเทพทั้งหลายจึงบันดาลให้เป็นไปดังนั้น ขอมหาบพิตรทั้งสองพระองค์ อย่าได้ทรงขุ่นแค้นพระทัยไปเลย ทั้งนี้เป็นไปตามที่กราบทูลทุกประการ ”
สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงฟังพระวันรัตถวายวิสัชนา บรรยายโดยพิสดารโดยวิธีเปรียบเทียบกับกฤฎาภินิหารแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงปราโมทย์ ออกพระโอษฐ์สาธุถวายนมัสการแล้วตรัสว่า พระวันรัตกล่าวคำน่าขอบใจ ทุกสิ่งที่ชี้แจงสมควรและเป็นจริงไม่สงสัยแม้แต่น้อย พระวันรัตเห็นว่าทรงคลายกริ้วแม่ทัพนายกองแล้ว จึงกล่าวถวายพระพรให้พระองค์ปราศจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งปวง แล้วกราบทูลต่อไปว่า แม่ทัพนายกองเหล่านี้มีความผิดรุนแรง ควรได้รับโทษทั้งโคตร แต่เคยได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาแต่ก่อนนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหา จักรพรรดิพระบรมราชอัยกา และสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดา จนล่วงถึงสมเด็จพระนเรศวรได้ขึ้นครองราชสมบัติ เปรียบได้กับพุทธบริษัททั้งปวง ช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาต่อมา ขอให้พระองค์ทรงงดโทษประหารชีวิตแม่ทัพนายกองไว้สักครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้เป็นกำลังส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพ เมื่อศึกสงครามเกิดขึ้นอีก เขาเหล่านั้นจะคิดแก้ตัว หาความดีความชอบเพื่อเพิ่มพูนพระบารมีให้แผ่ไปทั่วบ้านเมืองชองพระองค์เป็น แน่
สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับข้อความของพระวันรัต ที่ทูลขออภัยบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งปวง ก็ทรงพระกรุณาที่ว่าบุคคลเหล่านี้ยังจงรักภักดีต่อพระองค์อยู่ จึงพระราชทานอภัยโทษตามคำทูลของพระวันรัต แต่ทรงเห็นสมควรที่จะใช้ให้ไปตีเมืองตะนาวศรี ทวาย และ มะริด เป็นการชดเชยความผิด สมเด็จพระวันรัตกราบทูลว่า การรบทัพจับศึกไม่ใช่กิจอันควรที่พระภิกษุจะเห็นด้วย พระองค์จะทรงมีพระราชบัญชาใช้สอยประการใดสุดแล้วแต่พระราชอัธยาศัย แล้วสมเด็จพระวันรัตถวายพระพรลา พาคณะสงฆ์กลับวัด สมเด็จพระนเรศวรจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แม่ทัพนายกองพ้นโทษและคงดำรงตำแหน่งยศเดิม สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชกำหนดให้ เจ้าพระยาคลังคุมทหาร 50,000 คน ไปตีเมืองทวาย ให้เจ้าพระยาจักรีคุมทัพจำนวนรี้พลเท่ากันไปตีเมือง มะริด และ ตะนาวศรี มหาอำมาตย์ทั้งสองกราบถวายบังคมลาไปเตรียมทัพยกไปทันที แล้วทั้งสองพระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงหัวเมือง ฝ่ายเหนือว่า ไทยได้กวาดต้อนครอบครัวเข้ามาจำนวนมากแต่ยังไม่หมด ทรงมีพระราชดำริว่าถึงศึก พม่า มอญ ว่าคงจะลดลงถึงจะยกมาก็คงไม่น่ากลัว ควรจะได้ทะนุบำรุงหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้ให้รุ่งเรืองปรากฏเป็นเกียรติยศสืบ ต่อไปชั่วกัลปาวสาร

ตอนที่ ๑๑ พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร

โคลง๔
๏ ราชาชัเยศอื้น                      โองการ
รังสฤษฏ์พระสถูปสถาน       ทึ่มล้าง
ขุนเข็ญคู่รำบาญ                     สวมศพ ไว้แฮ
หนตระพังตรุสร้าง                   สืบหล้าแหล่งเฉลิม
(ร่าย)       เสร็จเริ่มรณแล้วไสร้ ธให้เจ้าเมืองมล่วน ถ้วนทั้งคชหมอควาญ จำทูลสารเสียรงค์ องค์อุปราชเอารส ขาดคชลาญชีพ รีบเร็วยาตรอย่าหึง ไปแจ้งอึงกฤษฎาการ แด่มหิบาลผู้เผ้า เจ้าแผ่นภพหงสา แล้วธให้คลาพยุหทัพ กลับคืนครองครอบเหล้า เถลิงอยุธยเย็นเกล้า ทั่วทวยสยาม สิ้นนา
โคลง๔
๏ กรุงรามฤทธิ์เฟื่องฟ้า         ฟู่ภพ
ตระบัดบพิตรปรารภ            ชอบพ้น
เจ้ารามราฆพ                         คงคู่ เสด็จนา
ตำแหน่งกลางช้างต้น            ต่อด้วยดัสกร
๏ กุญชรวรพ่าห์ท้าย              เถลิงงาน
องค์อนุชนฤบาล                   บั่นเสี้ยน
ขุนศรีคชคงชาญ                    ชเยศ ยิ่งนา
สนองบาทยาตรยุทธ์เที้ยน    เพื่อนไท้ในรณ
๏ สองผจญอริราชด้วย          โดยเสด็จ
คุณขอบตอบบำเหน็จ           ท่านให้
ครบเครื่องอุปโภคเสร็จ        ทุกสิ่ง สรรพแฮ
เงินและทองทาสใช้               อีกทั้งทวยเชลย
๏ แล้วเผยพจนารถชั้น           บรรหาร
ยกชอบกอบบำนาญ              ที่ม้วย
นายมหานุภาพควาญ             กลางคช หนี่งนา
หมื่นภักดีศวรด้วย                   ศึกสู้เสียตน
๏ นบัดดลดำรัสให้                   ปูนยศ
ทรัพย์สิ่งศรีสำรด                   ทั่วทั้ง
บุตรทารท่านแทนทด           ความชอบ เขานา
สมที่ภักดีตั้ง                           ต่อเหง้าเผ่าเฉลิม
(ร่าย)       เพิ่มบำเหน็จเสร็จไซร้ ธให้เชิญพระอัยการศึก ปรึกษาโทษขุนทัพ สรรพทั้งมวลหมู่มาตย์ ว่าอริราชริปู ยกพยูหเหยียบเขต ประเวศชานเวียงชัย พระบาทไทธทั้งสอง ปองพระศาสน์อำรุง ผดุงชุมชีทวิชาติ ทั่วทวยราษฎร์ประชา ไป่ระอาออกท้อ ข้อลำเค็ญพระองค์ ทรงพระอุตสาหภาพ เสด็จปราบราชอรี ปวงมนตรีนายทัพ สรรพทุกตนทุกตัว กลัวอเรนทร์เหลือล้น พ้นยิ่งพระราชอาชญา ไป่ยาตราพลขันธ์ ทันเสด็จด้าวรณรงค์ มละสารทรงสองเต้า เข้าท่ามกลางปัจนึก ถึงสู้ศึกหัสดี มีชเยศเสร็จสรรพ โทษขุนทัพทั้งมวล ควรประการใดไสร้ โดยระบอบแบบไว้ แต่เบื้องโบราณ รีตนา  ฯลฯ
โคลง๒
๏ ถวายพิพากษาชั้น               ดำรัสโดยเหตุหั้น
แห่งเบื้องบันทึก โทษนา
๏ คำนึงนึกบาปใกล้              วันบัณรสีไซร้
จวบเข้าควรงด หน่อยนา
๏ กำหนดพรุกเพ็ญแท้           พันธนาไว้แล้
ตรุตรึ้งตรากขัง มั่นนา
โคลง ๓
๏ ตั้งแต่ปาฏิบท                     ล่วงอุโบสถเสด็จแล้ว
เร่งสฤษฏ์โทษอย่าแคล้ว       คลาดด้าวดำเนิน บทนา

ถอดคำประพันธ์
สมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งให้สร้างสถูปสวมทับที่พระองค์ทรงทำยุทธหัตถี ณ ตำบลตระพังตรุ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสืบต่อไป  เสร็จ ศึกยุทธหัตถีแล้ว สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้เจ้าเมือง มล่วน รวมทั้งควาญช้างกลับ ไปแจ้งข่าวการแพ้สงครามและการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแก่พระเจ้าหงสาวดี แล้วพระองค์ก็ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ชื่อเสียงของกรุงศรีอยุธยาก็ลือเลื่องไปทั้งแผ่นดิน จากนั้นก็ทรงปรารภเรื่องการพระราชทานความดีความชอบแก่ พระยารามราฆพ ( กลางช้างของพระนเรศวร ) และ ขุนศรีคชคง ( ควาญช้างของพระเอกาทศรถ ) โดยพระราชทานบำเหน็จ เครื่องอุปโภค เงิน ทอง ทาส และเชลยให้แล้วก็พระราชทานบำนาญแก่บุตรภรรยาของ นายมหานุภาพ และ หมื่นภักดีศวร ที่เสียชีวิตในสงครามให้สมกับความดีความชอบและที่มีความภักดีต่อพระองค์ ต่อมาก็ทรงปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จ ไม่ทันตามกฎของพระอัยการศึกว่า ในการที่ข้าศึกยกทัพเข้ามาเหยียบแดนถึงชานพระนคร พระองค์และพระเอกาทศรถทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำนุบำรุงเหล่าสมณพราหมณ์และ ประชาราษฎรมิได้ย่อท้อต่อความยากลำบาก ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จออกไปปราบอริราชศัตรู แต่แม่ทัพนายกองทั้งปวงกลับกลัวข้าศึกยิ่งกว่าพระอาญา ไม่พยายามยกไปรบให้ทัน ปล่อยให้ทั้งสองพระองค์ทรงช้างพระที่นั่งฝ่าเข้าไปท่ามกลางข้าศึกตามลำพัง จนถึงได้กระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะ ลูกขุนได้เชิญกฎพระอัยการออกค้นดู เห็นว่าจะได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากใกล้วัน 15 ค่ำ ( บัณรสี ) จึงทรงพระกรุณางดโทษไว้ก่อน ต่อวันหนึ่งค่ำ (ปาฏิบท) จึงให้ลงโทษประหาร

ตอนที่ ๑๐ ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย


โคลง๔
๏ นฤบาลบพิตรเผ้า               ภูวนา ยกแฮ
ผายสิหนาทกถา                     ท่านพร้อง
ไพเราะราชสุภา-                    ษิตสื่อ สารนา
เสนอบ่มีข้อข้อง                    ขุ่นแค้นคำไข
๏ อ้าไทภูธเรศหล้า                 แหล่งตะเลง โลกฤๅ
เผยพระยศยินเยง                   ย่านแกล้ว
สิบทิศทั่วลือละเวง                  หวั่นเดช ท่านนา
ไป่เริ่มรอฤทธิ์แผ้ว                   เผือดกล้าแกลนหนี
๏ พระพี่พระผู้ผ่าน                     ภพอุต- ดมเอย
ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด            ร่มไม้
เชิญราชร่วมคชยุทธิ์              เผยยอเกียรติ ไว้แฮ
สืบกว่าสองเราไสร้                สุดสิ้นฤๅมี
๏ หัสดีรณเรศอ้าง                  อวสาน นี้นา
นับอนาคตกาล                      ห่อนพ้อง
ขัตติยายุทธ์บรรหาร              คชคู่ กันแฮ
คงแต่เผือพี่น้อง                      ตราบฟ้าดินกษัย
๏ ไว้เป็นมหรสพซ้อง            สุขศานติ์
สำหรับราชสำราญ                 เริ่มรั้ง
บำเทิงหฤทัยบาน                   ประดิยุทธ์ นั้นนา
เสนอเนตรมนุษย์ตั้ง              แต่หล้าเลอสรวง
๏ ป่วงไท้เทเวศทั้ง                 พรหมมาน
เชิญประชุมในสถาน             ที่นี้
ชมชื่นคชบำราญ                    ตูต่อ กันแฮ
ใครเชี่ยวใครชาญชี้               ชเยศอ้างอวยเฉลิม
๏ หวันเริ่มคุณเกียรติก้อง      กลางรงค์
ยืนพระยศอยู่คง                     คู่หล้า
สงครามกษัตริย์ทรง              ภพแผ่น สองฤๅ
สองราชรอนฤทธิ์ร้า              เรื่องรู้สรเสริญ
๏ ดำเนินพจน์พากย์พร้อง     พรรณนา
องค์อัครอุปราชา                   ท่านแจ้ง
กอบเกิดขัตติยมา-                นะนึก หาญเฮย
ขับคชเข้ายุทธ์แย้ง                 ด่วนด้วยโดยถวิล
๏ หัสดินปิ่นธเรศไท้              โททรง
คือสมิทธิมาตงค์                    หนึ่งอ้าง
หนึ่งคือศิริเมขล์มง                คลอาสน์ มารเอย
เศียรส่ายหงายงาคว้าง           ไขว่แคว้งแทงโถม
๏ สองโจมสองจู่จ้วง             บำรู
สองขัตติยสองขอชู               เชิดด้ำ
กระลึงกระลอกดู                  ไวว่อง นักนา
ควาญขับคชแข่งค้ำ                เข่นเขี้ยวในสนาม
๏ งามสองสุริยราชล้ำ            เลอพิศ นาพ่อ
พ่างพัชรินทรไพจิตร            ศึกสร้าง
ฤๅรามเริ่มรณฤทธิ์                  รบราพณ์ แลฤๅ
ทุกเทศทุกทิศอ้าง                   อื่นไท้ไป่เทียม
๏ ขุนเสียมสามรรถต้าน        ขุนตะเลง
ขุนต่อขุนไป่เยง                     หย่อนห้าว
ยอหัตถ์เทิดลบองเลบง         อังกุศ ไกวแฮ
งามเร่งงามโทท้าว                  ท่านสู้ศึกสาร
๏ คชยานขัตติเยศเบื้อง          ออกถวัลย์
โถมปะทะไป่ทัน                  เหยียบยั้ง
สารทรงราชรามัญ                  ลงล่าง แลนา
เสยส่ายท้ายทันต์ทั้ง               คู้ค้ำคางเขิน
๏ ดำเนินหนุนถนัดได้           เชิงชิด
หน่อนเรนทรทิศ                   ตกด้าว
เสด็จวราฤทธิ์                         รำร่อน ขอแฮ
ฟอนฟาดแสงของ้าว              อยู่เพี้ยงจักรผัน
๏ เบื้องนั้นนฤนาถผู้              สยามมินทร์
เบี่ยงพระมาลาผิน                  ห่อนพ้อง
ศัสตราวุธอรินทร์                  ฤๅถูก องค์เอย
เพราะพระหัตถ์หากป้อง       ปัดด้วยขอทรง
๏ บัดมงคลพ่าห์ไท้                ทวารัติ
แว้งเหวี่ยงเบี่ยงเศียร              สะบัด ตกใต้
อุกคลุกพลุกเงยงัด               คอคช เศิกแฮ
เบนบ่ายหงายแหงนให้          ท่วงท้อทีถอย
๏ พลอยพล้ำเพลียกถ้าท่าน   ในรณ
บัดราชฟาดแสงพล-              พ่ายฟ้อน
พระเดชพระแสดงดล           เผด็จคู่ เข็ญแฮ
ถนัดพระอังสางข้อน             ขาดด้าวโดยขวา
๏ อุรารานร้าวแยก                 ยลสยบ
เยนพระองค์ลงทบ                ท่าวดิ้น
เหนือคอคชซอนซบ              สังเวช
วายชิวาตม์สุดสิ้น                   สู่ฟ้าเสวยสวรรค์
๏ บั้นท้ายคชาเรศท้าว            ไทยไผท
ถึงพิราลัยลาญ                        ชีพมล้าง
เพราะเพื่อพิพิธไพ-                รีราช แลนา
โซรมสาดตราดปืนขว้าง       ตอกต้องตนสลาย
๏ ฝ่ายองค์อิศวรนาถน้อง      นฤบาล
แสดงยศคชยุทธยาน              ยาตรเต้า
มางจาชโรราญ                       ฤทธิ์ราช แลฤๅ
เร็วเร่งคเชนทรเข้า                  เข่นค้ำบำรู
๏ บัดภูธเรศพ่าห์ได้               เชิงชน
ลงล่างง้างโททนต์                 เทิดใต้
พัชเนียงเบี่ยงเบนตน             เซซวน ไปแฮ
หัวปั่นหันข้างให้                   เพลี่ยงพลั้งเสียที
๏ ภูมีมือง่าง้าว                       ของอน
ฟันฟาดขาดคอบร                 บั่นเกล้า
อินทรีย์ซบกุญชร                  เมือชีพ แลเฮย
เผลพระเกียรติผ่านเผ้า           พี่น้องสองไท
๏ ทันใดกลางคชเจ้า              จุลจักร
มลายชิพิตลาญทัก                ท่าวซ้ำ
เหลือหลามเหล่าปรปักษ์       ปืนป่าย เอาเฮย
ตรึงอกพกตกขว้ำ                  อยู่เบื้องบนสาร
๏ พระราญอริราชด้วย          เดโช
สี่ทาสสนองบาทโท               ท่านท้าว
พระยศยิ่งภิยโย                     ผ่านแผ่ ภพนา
สองรอดโดยเสด็จด้าว          ศึกสู้เสียสอง
(ร่าย)       จึ่งกองพยุหทวยทัพ สรรพหลังหน้าขวาซ้าย ผ้ายทันธิบดินทร์ ขณะอรินทรพินาศ ขาดคอคชสองเสร็จ ต่างรีบระเห็จเข้าโรม โหมหักหาญราญรุก บุกบั่นฟันแทงฆ่า พม่ามอญไทยใหญ่ ไล่ล้างลาวดาษดวน ไล่มล้างยวนดาษดื่น ตื่นกันแตกกันตายหลายเหลือนับเนืองนอง กองก่ายกายรายหัว ตัวขาแขนเด็ดดาษ กลาดกลางท่งกลางเถื่อน เกลื่อนกลางดงกลางดอน แล่นซอกซอนซนซุก บุกทุกภายพ่ายแพ้ เพราะพระเดชท่านแท้ หากให้ขาดเข็ญ แลนา
โคลง๒
๏ เห็นประภาพเจ้าช้าง           เชี่ยวกว่าเชี่ยวเหลืออ้าง
เอิกอื้ออัศจรรย์ ยิ่งนา
๏ ขวัญหนีดีฝ่อพ้น                                พวกอเรนทร์ด่วนด้น
ดัดดั้นทางทวน ไปนา ฯลฯ
ถอดคำประพันธ์
สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชดำรัสอันไพเราะไม่มีสุรเสียงขุ่นแค้นพระทัยเลยแม้แต่น้อยว่า
“ ผู้ทรงเป็นใหญ่แห่งประเทศมอญ พระเกียรคิยศเลื่องลือไปไกลทั่วทั้งสิบทิศ ข้าศึกได้ยินก็เกรงพระบรมเดชานุภาพ ไม่กล้าสู้รบพากันหนีไป พระเจ้าผู้พี่ปกครองประเทศอันบริบูรณ์ยิ่ง เป็นการไม่สมควรเลยที่พระเจ้าพี่ประทับอยู่ใต้ร่มไม้ เชิญพระองค์เสด็จมาร่วมทำยุทธหัตถีร่วมกัน เพื่อแสดงเกียรคิไว้ให้เป็นที่ปรากฏ ต่อจากเราทั้งสองจะไม่มีอีกแล้ว การรบด้วยการชนช้างจะถึงที่สุดเพียงนี้ ต่อไปจะไม่ได้ไม่พบอีก การที่กษัตริย์ทำยุทธหัตถีกัน ก็คงมีแต่เราสองพี่น้อง ตราบชั่วฟ้าดินสลาย การทำยุทธหัตถีก็เปรียบประดุจการเล่นที่รื่นเริงของกษัตริย์เพื่อให้ชมเล่น เป็นขวัญตาแก่มนุษย์จนถึงเมืองสวรรค์ ขอทูลเชิญเทวดาและพรหมทั้งปวงมาประชุมในสถานที่นี้เพื่อชมการยุทธหัตถี ผู้ใดเชี่ยวชาญกว่า ขอทรงอวยพรให้ผู้นั้นรับชัยชนะ  หวัง จะให้พระเกียรติยศในการรบครั้งนี้ดำรงอยู่ชั่วฟ้าดิน ว่ากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ได้กระทำสงครามกัน ใครรู้เรื่องก็จะได้ยกย่องสรรเสริญกันตลอดไป ”
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้ตรัสพรรณนาดังนั้น พระมหาอุปราชาได้ทรงสดับก็บังเกิดขัตติยะมานะกล้าหาญขึ้น รีบไสช้างเข้าต่อสู้โดยเร็วด้วยความกล้าหาญ   ช้าง ทรงของผู้เป็นใหญ่ทั้งสองพระองค์ เปรียบเหมือนช้างเอราวัณและช้างคิรีเมขล์อันเป็นพาหนะของวัสวดีมาร ต่างส่ายเศียรและหงายงาโถมแทงอยู่ขวักไขว่  สอง กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่งามเลิศล้ำน่าชมยิ่งหนัก ประหนึ่งพระอินทร์และไพจิตราสูรทำสงครามกัน หรือไม่ก็เหมือนกับพระรามรบกับทศกัณฐ์ กษัตริย์อื่นในทุกประเทศและทุกทิศไม่เสมอเหมือน กษัตริย์ แห่งกรุงสยามก็สามารถต้านพระมหาอุปราชาได้ ทั้งสองไม่ทรงเกรงกลัวกันเลย และไม่ได้ลดความห้าวหาญลงแม้แต่น้อย พระหัตถ์ก็ยกพระแสงของ้าวขึ้นกวัดแกว่งตามแบบฉบับ  ช้าง ทรงของสมเด็จพระนเรศวรโถมเข้าใส่ไม่ทันตั้งหลักยั้งตัว ช้างทรงของพระมหาอุปราชาได้ล่างใช้งาทั้งคู่ค้ำคางเจ้าพระยาไชยานุภาพแหงน สูงขึ้น จึงได้ทีถนัด พระมหาอุปราชาเห็นเป็นโอกาส จึงเงื้อพระแสงของ้าวจ้วงฟันอย่างแรงราวกับจักรหมุน แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงพระมาลาหลบพร้อมกับใช้พระแสงของ้าวปัดเสียทัน อาวุธของพระมหาอุปราชาจึงไม่ถูกพระองค์
ทันใดนั้นช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรเบนสะบัด ได้ล่าง จึงใช้งางัดคอช้างของพระมหาอุปราชาจนหงาย ช้างของพระมหาอุปราชาเสียท่าต้องถอยหลังพลาดท่าในการรบ สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงเงื้อพระแสงของ้าวฟันถูกพระมหาอุปราชาที่พระอังสาขวา ขาดสะพายแล่ง พระอุระของพระมหาอุปราชาถูกฟันจนเป็นรอยแยก พระวรกายก็เอนซบอยู่บนคอช้างเป็นที่น่าสลดใจ สิ้นพระชนม์แล้วได้ไปสถิตในแดนสวรรค์   ควาญ ช้างของสมเด็จพระนเรศวร คือ นายมหานุภาพก็ถูกปืนข้าศึกเสียชีวิต ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทำยุทธหัตถีกับ มางจาชโร (พระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา) พระเอกาทศรถได้ใช้พระแสงของ้าวฟันถูกมางจาชโรตายซบอยู่บนหลังพลายพัชเนียร นั่นเอง และกลางช้างของพระเอกาทศรถ คือ หมื่นภักดีศวรก็ถูกปืนข้าศึกตาย ทั้งสองพระองค์รบกับข้าศึกในครั้งนี้ด้วยพระ บรมเดชานุภาพ เพราะมีแค่ทหารสี่คนและพระองค์ทั้งสองเท่านั้น พระเกียรติจึงแผ่ไปไกล ทหารที่ติดตามไปตายสองและรอดกลับมาสอง กองทัพไทยติดตามมาทันเมื่อพระมหาอุปราชาขาดคอ ช้างแล้ว ต่างก็รีบเข้ามาช่วยรบ ฆ่าฟันทหาร พม่า มอญ ไทยใหญ่ ลาว เชียงใหม่ ตายลงจำนวนมากเหลือคณานับ ที่เหลือบุกป่าฝ่าดงหนีไป ทั้งนี้เป็นพระบรมเดชานุภาพของพระองค์โดยแท้

ตอนที่ ๙ ทัพหลวงเคลื่อนพล ช้างทรงพระนเรศวรและพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก


โคลง๔   ๏
เบื้องบรมจักรพรรดิเกล้า     กษัตรา
เถลิงพิภพทวารา                    เกริ่นแกล้ว
สถิตเกยรัตนราชา                  อาสน์โอ่ องค์เอย
คอยฤกษ์เบิกยุทธ์แผ้ว           แผ่นพื้นหาวหน
๏ บัดดลวลาหกซื้อ                   ชระอับ อยู่แฮ
แห่งทิศพายัพยล                    เยือกฟ้า
มลักแลกระลายกระลับ        ลิวล่งไปเฮย
เผยผ่องภาณุเมศจ้า                แจ่มแจ้งแสงฉาน
๏ คัคนานต์นฤราสร้าง          ราคิน
คือระเบียบรัตนอินทนิล      คาดไว้
บริสุทธิ์สร่างมลทิน               ถ่องโทษ อยู่นา
นักษัตรสวัสดิเดชได้             โชคชี้ศุภผล ฯลฯ
(ร่าย)       เคลื่อนพลตามเกล็ดนาค ตามเต็มท่งแถวเถื่อน เกลื่อนกล่นแสนยาทัพ ถับปะทะไพรินทร์ ส่วนหัสดินอุภัย เจ้าพระยาไชยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ตรับตระหนักสำเนียง เสียงฆ้องกลองปืนศึก อึกเอิกก้องกาหลง เร่งคำรนเรียกมัน ชันหูชูหางแล่น แปร้นแปร๋แลคะไขว่ บาทย่างใหญ่ดุ่มด่วน ป่วนกิริยาร่าเริง บำเทิงมันครั่นครึก เข้าสู้ศึกโรมราญ ควาญคัดท้ายบมิอยู่ วู่วางวิ่งฉับฉิว ปลิวประเล่ห์สมพาน ส่ำแสะสารแสนยา ขวาซ้ายแซงหน้าหลัง ทั้งทวยพลตนขุน ถ้วนทุกมุลมวลมาตย์ ยาตรบทันโทท้าว ด้าวศึกสู้สองสาร ราญศึกสู้สองไท้ ไร้พิริยะแห่ห้อม พร้อมแต่กลางควาญคช กำหนดสี่โดยเสร็จ เห็จเข้าใกล้กองหน้า ข้าศึกดูดาษเดียร ธระเมียรหมู่ดัสกร มอญพม่าดาดื่น เดินดุจคลื่นคลาฟอง นองน่านในอรรณเวศ ตรัสทอดพระเนตรเนืองบร โล่โรมรอนทวยสยาม หลามเหลือหลั่งคั่งคับ ซับซ้อนแทรกสับสน ยลบเป็นทัพเป็นกอง ธก็ไสสองสารทรง ตรงเข้าถีบเข้าแทง ด้วยแรงมันแรงกาย หงายงาเสยสารเศิก เพิกพังพ่ายบ่ายตน ปนปะไปไขว่คว้าง ช้างศึกได้กลิ่นมัน หันหัวหกตกกระหม่า บ่ากันเลี่ยงกันหลบ ประทบประทะอลวน สองคชชนชาญเชี่ยว เรี่ยวรณรงค์เริงแรง แทงถืบฉัดตะลุมบอน พม่ามอญตายกลาด ข้าศึกสาดปืนโซรม โรมกุฑัณฑ์ธนู ดูดั่งพรรษาซ้อง ไป่ตกต้องตนสาร ธุมาการเกิดกระลบ อบอลเวงฟากฟ้า ดูบ่รู้จักหน้า หนึ่งสิ้นแสงไถง แลนา
โคลง๔
๏ จึ่งไทเทเวศอ้าง                   สมมุติ
มิ่งมหิศวรมกุฎ                       เกศหล้า
เถลิงภพแผ่นอยุธย-               ยายิ่ง ยศแฮ
แสดงพระเดชฟุ้งฟ้า              เฟื่องด้าวดินไหว
๏ ภูวไนยผายโอษฐ์อื้น          โชยงการ
แก่เทพทุกถิ่นสถาน                 ฉชั้น
โสฬสพรหมพิมาน                กมลาสน์ แลนา
เชิญช่วยชุมโสตซั้น               สดับถ้อยตูแถลง
๏ ซึ่งแสร้งรังสฤษฏ์ให้          มาอุบัติ
ในประยูรเศวตฉัตร               สืบเชื้อ
หวังผดุงบวรรัตน                  ตรัสเยศ ยืนนา
ทำนุกพระศาสน์เกื้อ              ก่อสร้างแสวงผล
๏ กลใดไป่ช่วยแผ้ว               นภา ดลฤๅ
ใสสรว่างธุมา                          มืดม้วย
มลักเล็งเหล่าพาธา                   ทวยเศิก สมรแฮ
เห็นตระหนักเนตรด้วย         ดั่งนี้แหนงฉงาย
๏ พอถวายวรวากย์อ้าง          โอษฐ์พระ
ดาลมหาวาตะ                         ตื่นฟ้า
ทรหึงทรหวลพะ-                  พานพัด หาวแฮ
หอบธุมางค์จางเจ้า                จรัสด้าวแดนสมร
๏ ภูธรเมิลอมิตรไท้               ธำรง สารแฮ
ครบสิบหกฉัตรทรง              เทริดเกล้า
บ่จวนบ่จวบองค์                   อุปราช แลฤๅ
พลางเร่งขับคชเต้า                แต่ตั้งตาแสวง
๏ โดนแขวงขวาทิศท้าว        ทฤษฎี แลนา
บัด ธ เห็นขุนกรี                    หนึ่งไสร้
เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์                   เรียงคั่ง ขูเฮย
หนแห่งฉายาไม้                     ข่อยชี้เณอนาม
๏ ปิ่นสยามยลแท้ท่าน           คะเนนึก อยู่นา
ถวิลว่าขุนศึกสำ-                    นักโน้น
ทวยทัพเทียบพันลึก              แลหลาก หลายแฮ
ครบเครื่องอุปโภคโพ้น        เพ่งเพี้ยงพิศวง
โคลง๒
๏ สองสุริยพงศ์ผ่านหล้า        ขับคเชนทร์บ่ายหน้า
แขกเจ้าจอมตะเลง แลนา
๏ ไป่เกรงประภาพเท่าเผ้า     พักตร์ท่านผ่องฤๅเศร้า
สู้เสี้ยนไป่หนี หน้านา
๏ ไพรีเร่งสาดซ้อง                   โซรมปืนไฟไป่ต้อง
ตื่นเต้าแตกฉาน ผ้านนา

ถอดคำประพันธ์
ขณะสมเด็จพระนเรศวรประทับบนเกย เพื่อรอพิชัยฤกษ์เคลื่อนทัพหลวง ได้บังเกิดเมฆก้อนใหญ่เย็นเยือกลอยอยู่ทางทิศ พายัพ แล้วก็กลับแลดูท้องฟ้าแจ่มกระจ่าง ดวงอาทิตย์ส่องแสงจ้าโดยไม่มีอะไรบดบัง อันเป็นนิมิตที่แสดงพระบรมเดชานุภาพและชี้ให้เห็นความมีโชคดี สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพลตาม เกล็ดนาค ตามตำราพิชัยสงคราม จนปะทะเข้ากับกองทัพข้าศึก ช้างพระที่นั่งทั้งสอง คือ พระเจ้าไชยานุภาพ และ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ได้สดับเสียง ฆ้อง กลอง และเสียงปืนของข้าศึก ก็ส่งเสียงร้องด้วยความคึกคะนอง เพราะกำลังตกมัน ควาญบังคับไว้ไม่อยู่ มันวิ่งไปโดยเร็ว จนทหารในกองตามไม่ทัน มีแต่กลางช้างและควาญช้างสี่คนเท่านั้นที่ตามเสด็จไปด้วยจนเข้าไปใกล้กอง หน้าของข้าศึก ช้างศึกได้กลิ่น มัน ก็พากันตกใจหนีไปปะทะกับพวกที่ตามมาข้างหลัง ช้างทรงไล่แทงช้างของข้าศึกอย่างเมามัน ทหารพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก ข้าศึกยิงปืนเข้าใส่ แต่ไม่ถูกช้างทรง การต่อสู้เป็นแบบตะลุมบอนจนฝุ่นตลบมองหน้ากันไม่เห็น เหมือนกับเวลากลางคืน สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสประกาศแด่เทวดาทั้งหลาย บนสวสรรค์ทั้งหกชั้น และพรหมทั้งสิบหกชั้นว่า ที่ให้พระองค์ท่านมาประสูตรเป็นพระมหากษัตริย์ครองราชย์สมบัติก็ด้วยหวังจะ ให้ทะนุบำรุงศาสนา และพระรัตนตรัยให้เจริญรุ่งเรือง เหตุใดเล่าเทวดาจึงไม่บันดาลให้ท้องฟ้าสว่างมองเห็นข้าศึกได้ชัดเจน พอดำรัสจบไม่นานก็เกิดพายุใหญ่พัดหอบเอาฝุ่นและควันหายไป ท้องฟ้าสว่างดังเดิม มองเห็นสนามรบได้ชัดเจน พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงช้างประทับยืนอยู่ใต้ต้นไม้ข่อย มีทหารห้อมล้อมและตั้งเครื่องสูงครบครัน ทั้งสองพระองค์ทรงไสช้างเข้าไปหาด้วยพระพักตร์ที่ผ่องใสไม่เกรงกลัวแม้แต่ น้อย ข้าศึกยิงปืนไฟเข้ามาแต่ก็มิได้ต้องพระองค์เลย

ตอนที่ ๘ พระนเรศวรทรงปรึกษายุทธวิธีเอาชนะศึก


โคลง๔
๏ปางอุภัยภูเบศเบื้อง             บูรพ์ถวัลย  ราชย์แฮ
เรียบพิริยพลพรรค์                พรั่งพร้อม
เจียนจวบรวิวรรณ                 ร่างเรื่อ  แลฤๅ
ทวยทิชากรน้อม                    นอบนิ้วเสนอทูล   ฯลฯ
๏ เชิญไท้ยูรยาตรเต้า             เตียงสนาน
ถวายมุทธาภิสิตธาร               เพรียกพร้อง
ศิวเวทวิษณุบรรสาน              สังข์โสรจ  สรงแฮ
มหรทึกครึกเครงก้อง           เกริกหล้าหวั่นไหว  ฯลฯ
(ร่าย)       ฝ่ายชีพ่อทวิชาชาติ ราชปุริโสดม พรหมพิทยาจารย์ เบิกโขลนทวารโดยกระทรวง ปวงละว้าเช่นไก่ ไขว่สรวงพลีผีสาง พลางธส่งแสงอาชญา แต่หลวงมหาวิชัย ใจทระนงองอาจ ยาตรตัดไม้ข่มนาม ตามตำรับไสยเพท บัดนฤเบศทรงสดับ เสียงปืนทัพแย้งยุทธ์ สุดอำเภอเลอไสต โปรดโองการธใช้ ให้หมื่นทิพเสนา เห็จอาชาเร็วรีบ ถีบไปสืบเอาการ เขารับสารขึ้นม้า ควบบช้าบหึง ถึงที่ทวยพลทัพ รับพลางถอยพลางล่ามอญพม่าตามติด ประชิดไล่อลวน ผจญรับอลหม่าน ผ่านท้องท่งท้องนา ดามาโดยแดนผลู ดูคะคลาคะคล่ำ บ่รู้กี่ส่ำสับสน เขาเอาตนหมื่นหนึ่งมา ซึ่งเนาในกองทัพ กลับม้านำมาเฝ้า จึ่งพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสถามตัวหมื่นพล เยียใดกลจึ่งพ่าย เขาจำหน่ายเหตุสนอง ว่าเผือผองผาดผ้าย ท้ายดอนเผาธัญญา พอนาฬิกาหนึ่งนับ ปะทะทับดัสกร เข้าราญรอมรุมรุก คลุกคลีกันหนักหนา ปวงปัจจามิตรมาก หลากทุกคราทุกครั้ง ตั้งตนต่อบมิคง ตรงตนต่อบมิหยุด เหลือจักยุทธ์จึ่งลาด ครั้นพระบาทยินสาร ธก็บรรหารตระบัด ตรัสปรึกษาหาเลศ แห่งเหตุเพโทบาย ถ้วนทุกนายทุกมุล ทั่วทุกขุนหมู่มาตย์ คาดความคิดทั้งมวล ควรยศใดใครเห็น จักเข่นเข็ญให้มอด จักขอดเข็ญให้ม้วย ด้วยถ่ายเทเล่ห์ไหน วานเขือไขอย่าอำ เขาขานคำท่านถาม สงครามครานี้หนัก เชิญเสด็จพักพลหมั้น แต่งทัพซั้นไปหน่วง ถ่วงศึกไว้จงหนา รามือลงก่อนไสร้ ไว้สักครั้งรั้งรอ พอได้ทีจึ่งยาตร ยกพยุหบาตรออกราญ เห็นควรการชัยชอบ ธก็ตรัสตอบมนตรี ตรองคดีดูแผก ฝ่ายเราแตกย่นยับ จักส่งทัพไปทาน พอพลอยฉานสองซ้ำ ค้ำบอยู่บหยุด ชอบถอยทรุดอย่ารั้ง ให้ศึกพลั้งเสียเชิง โดยละเลิงใจอาจ ยาตรตามติดผิดขบวน ควรเรายกออกโรม โหมหักหาญราญรงค์ คงชำนะเศิกไสร้ ได้ด้วยง่ายด้วยงาม เขายินความยลชอบ นอบประณตแด่ไท้ ธให้หมื่นทิพเสนา กับหมื่นราชามาตย์ เหินหัยราชรีบร้อน ไปเตือนต้อนกองนา เร็วเร่งล่าอย่ารั้ง ทวยพหลทั่วทั้ง ทราบข้อบรรหาร ท่านนา
โคลง๒
๏ บนานต่างตนผ้าย               ไปบ่รอรั้งท้าย
ถี่เท้าผาดผัง  มานา
๏ ผันหลังแล่นแผ่ผ้าน            บมีผู้อยู่ต้าน
ต่อสู้สักตน  หนึ่งนา   ฯลฯ
โคลง๓
๏ พวกพลทัพรามัญ               เห็นไทยผันหนีหน้า
ไปบ่หยุดยั้งช้า                       ตื่นต้อนแตกฉาน  น่านนา
๏ ไป่แจ้งการแห่งเล่ห์            เท่ห์กลไทยใช่น้อย
ต่างเร่งติดเร่งต้อย                   เร่งเต้าตีนตาม  มานา
๏ แลหลังหลามเหลือนับ       บเป็นทัพเป็นขบวนแท้
ถวิลว่าพ่ายจริงแล้                  ไล่ล้ำระส่ำระสาย  ยิ่งนา
๏ หมายละเลิงใจอาจ             ประมาทประมาณหมิ่นหมั้น
เบาเร่งเบาเชิงชั้น                    ชื่นหน้ามาสรลม  สรลอนนา
ถอดคำประพันธ์
ขณะที่พราหมณ์ผู้ทำพิธีและผู้ชำนาญไสยศาสตร์ ทำพิธีเบิกประตูป่าและพิธีละว้าเซ่นไก่ หลวงมหาวิชัยรับพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ ไปทำพิธีตัดไม้ข่มนามตามไสยศาสตร์ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับเสียงปืนซึ่งไทยกับมอญกำลังยิงต่อสู้กันอยู่ แต่เสียงนั้นอยู่ไกลฟังไม่ถนัด จึงรับสั่งให้หมื่นทิพเสนารีบไปสืบข่าว หมื่นทิพเสนาขึ้นม้าไปอย่างรวดเร็ว ถึงกองทัพไทยที่กำลังล่าถอย รับพลางถอยพลาง มอญตามมาอย่างกระชั้นชิด หมื่นทิพเสนาได้นำขุนหมื่นผู้หนึ่งมาเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร ขุนหมื่นผู้นั้นกราบทูลว่า เมื่อเวลา 7 นาฬิกา ทัพไทยได้ปะทะกับทัพมอญที่ตำบลโคกเผาข้าว ทัพไทยต้องถอยร่นอยู่ตลอดเวลา เพราะกำลังข้าศึกมีมากกว่า สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสปรึกษาแม่ทัพนายกองว่าควรคิดหาอุบายแก้ไขการศึกษา อย่างไร บรรดาแม่ทัพนายกองกราบทูลขอให้พระองค์ส่งทัพไปยันไว้ ให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงก่อนจึงเสด็จยกทัพหลวงออกต่อสู้ภายหลัง สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า “ทัพไทยกำลังแตกพ่ายอยู่ ถ้าจะส่งทัพไปต้านทานอีก ก็จะพลอยแตกอีกเป็นครั้งที่ 2 ควร ที่ล่าถอยลงมาโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อลวงข้าศึกให้ละเลิงใจ ยกติดตามมาไม่เป็นขบวนพอได้ทีให้ยกกำลังส่วนใหญ่ออกโจมตี ก็คงจะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย” แม่ทัพนายกองเห็นชอบ ด้วยกับพระราชดำรินั้น สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้หมื่นทิพเสนากับหมื่นราชามาตย์ไปแจ้งทัพหน้า ของไทยให้ล่าถอยโดยเร็ว ทัพหน้าไทยจึงรีบถอยร่น ทัพพม่าไม่รู้กลอุบาย ก็รุกไล่ตามจนเสียกระบวน

ตอนที่ ๗ พระมหาอุปราชทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะทัพหน้าของไทย


(ร่าย)       ฝ่ายกองตระเวนรามัญ อันขุนศึกธใช้ ให้เอาม้ามาลาด คอยข่าวราชริปู ดูทัพชาวพระนคร จักออกรอนออกรบ จักออกทบออกทาน เอากาการมาบอก แม้บออกต่อติด จักประชิดเมืองถึง จึงสมิงอะคร้านขุนกอง รองสมิงเป่อปลัดทัพ กับสมิงซายม่วน ทั้งสามด่วนเดินพล พวกพหลหมู่ม้า ห้าร้อยมามองความ ยลสยามยาตราทัพ อยู่ท่ารับรายค่าย ขอบหนองสหร่ายเรียบพยูห์ ดูกองหน้ากองหลวง แลทั้งปวงทราบเสร็จ เร็วระเห็จไปทูล แด่นเรศรอุปราช ครั้นพระบาทได้สดับ ธ ก็ทราบสรรพโดยควร ว่านเรศวรกษัตรา กับเอกาทศรุถ ยกมาแย่งรงค์ แล้วพระองค์ตรัสถาม สามสมิงนายกอง ถ้าจักประมาณพลไกร สักเท่าใดดูตระหนัก ตรัสซ้ำซักเขาสนอง ว่าพลผองทั้งเสร็จ ประมาณสิบเจ็ดสิบแปดหมื่น ดูดาษดื่นท่งกว้าง ครั้นเจ้าช้างทรงสดับ ธก็ตรัสแก่ขุนทัพขุนกอง ว่าซึ่งสองกษัตริย์กล้า ออกมาถ้ารอรับ เป็นพยุหทัพใหญ่ยง คงเขาน้อยกว่าเรา มากกว่าเขาหลายส่วน จำเราด่วนจู่โจม โหมหักเอาแต่แรก ตีให้แยกย่นย่อย ค่อยเบาแรงเบามือ เร็วเร่งฮือเข้าห้อม ล้อมกรุงเทพทวารัติ ชิงเอาฉัตรตัดเข็ญ เห็นได้เวียงโดยสะดวก แล้วธสั่งพวกขุนพล เทียบพหลทุกทัพ สรรพแต่ยามเสร็จ ตีสิบเอ็ดนาฬิกา จักยาตราทัพขันธ์ กันเอารุ่งไว้หน้า เร็วเร่งจัดอย่าช้า พรุ่งนี้เช้าเราตี เทอญนา
โคลง๔
๏ เสนีรับถ้อยท่าน                 ทุกตน
ต่างเร่งตรวจเตรียมพล          ทุกผู้
พลหาญหื่นหนรณ                  เริงร่าน อยู่แฮ
คอยจักขับเคี่ยวสู้                   เข่นเสี้ยนศึกสยาม
๏ ครั้นยามสิบเอ็ดแล้ว          เวลา ลุเอย
องค์อัครอุปราชา                   หน่อไท้
โสรจสรงรสธารา                 รวยรื่น ฉมนา
เฉลิมวิเลปน์ลูบไล้                 เฟื่องฟุ้งเสาวคนธ์   ฯลฯ
๏ ภูเบนทร์บ่ายบาทขึ้น         เกยหอ
ขี่คชชื่อพัทธกอ                     กาจกล้า
บ่เข็ดบ่ขามขอ                       เขาเงือด เงื้อแฮ
มันตกติดหลังหน้า                  เสือกเสื้องส่ายเสย ฯลฯ
(ร่าย)       ส่วนพระยาศรีไสยณรงค์ สองขุนคงควบทัพ กับพระราชฤทธานนท์ ทราบอนุสนธิสั่งไท้ ธให้ยาตรยกโยธี ออกโจมตีตัดศึก แต่ยามดึกเดินพล เร่งขวายขวนเตรียมทัพ สรรพห้าหมื่นโดยมี ตนพระยาศรีขี่คช ปรากฏชื่อมาตงค์ พลายสุรงคเดชะ เมืองสิงหะปีกขวา ออกญาสรรค์ปีกซ้าย เห็จคชผ้ายทุกมูล ขุนผู้คู่กำกับ เป็นทัพหลั่งพรั่งพฤนท์ ขี่คชินทรพาหะ นามชนะจำบัง รังปีกป้องกองขวา พระยาวิเศษชัยชาญ ขุนหาญปีกอุดร เจ้านครชัยนาท กองหน้าอาจโจมประจัญ ให้พระยาสุพรรณผ้ายพยู่ห์ ผู้ปีกซ้ายเมืองธน ทัพเมืองนนท์ปีกขวา ตรีเสนาเก้ากอง ลำลองเหล่าอาสา ส่ำศาสตราครบมือ ถือกระลับกระลอก หอกดาบปืนและสาร แสนยาหาญแน่นขนัด รัดเร่งเท้าเร่งเทา โดยลำเนาลำดับ ถับถึงโคกเผาเข้า พอยามเช้ายังสาย หมายประมาณโมงครบ ประทบทัพรามัญ ประทันทัพพม่า ขับทวยกล้าเข้าแทง ขับทวยแขงเข้าฟัน สองฝ่ายยันยืนยุทธ์ อุดอึงโห่เอาฤกษ์ เอิกอึงโห่เอาชัย สาดปืนไฟยะแย้ง แผลงปืนพิษยะยุ่ง พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกชักคะไขว่ ไล่คะคลุกบุกบัน เงื้อดาบฟันฉะฉาด ง่าง้าวฟาดฉะฉับ ขับปีกซ้ายเข้าดา ขับปีกขวาเข้าแดก แยกกันออกโรมรัน ปักกันออกโรมรณ ทนสู้ศึกบ่มิลด อดสู้ศึกบ่มิลาด อาจต่ออาจเข้ารุก อุกต่ออุกเข้าร่า กล้าต่อกล้าชิงบั่น กลั่นต่อกลั่นชิงรอน ศรต่อศรยิงยืน ปืนต่อปืนยิงยัน กุทัณฑ์ต่างตอบโต้ โล่ต่อโล่ต่อตั้ง ดั้งต่อดั้งต่อติด เขนประชิดเขนสู้ ต่าวคู่คู่ต่าวต่อ หอกหันร่อหอกรับ ง้าวง่าจับง้าวประจัญ ทวนผัดผันทวนทบ รบอลวนอลเวง ต่างบเกรงบกลัว ตัวต่อตัวชิงมล้าง ช้างต่อช้างชิงชน คนต่อคนต่อรบ ของ้าวทบทะกัน ต่างฟันต่างป้องปัด วางเสนัดหลังสาร ขานเสียงศึกกึกก้อง ว่องต่อว่องชิงชัย ไวต่อไวชิงชนะ ม้าไทยพะม้ามอญ ต่างเข้ารอนเข้าโหม ทวนแทงโถมทวนทบ หอกเข้ารบรอหอก หลอกล่อไขว่แคล้ว แย้งธนูเหนี่ยวน้าว ห้าวต่อห้าวหักหาญ ชาญต่อชาญหักเชี่ยว เรี่ยวต่อเรี่ยวหักแรง แขนต่อแขนหักฤทธิ์ ต่างประชิดฟอนฟัน ต่างประชันฟอนฟาด ล้วนสามารถมือทัด ล้วนสมรรถมือทาน ผลาญกันกันลงเต็มหล้า ผร้ากันลงเต็มแหล่ง แบ่งกันตายลงครัน ปันกันตายลงมาก ตากเต็มท่งเต็มเถื่อน ตากเต็มเผื่อนเต็มพง ที่ยังคงบมิยู่ ที่ยังอยู่บมิหย่อน ต่างต่อกรฮึดฮือ ต่างต่อมือฮึกฮัก หนักหนุนแน่นมาหนา ดาหนุนแน่นมาดาษ บ่รู้ขยาดย่อทัพ บ่รู้ขยับย่อศึก คะศึกเข้าต่อแกล้ว คะแคล้วเข้าต่อกล้า ต่างชิงฆ่าชิงหั่น ต่างชิงบั่นชิงฟัน ปันกันยิงกันแผลง ปันกันแทงกันพุ่ง ยอยุทธ์ยุ่งบ่มิแตก แยกยุทธ์แย้งบ่มิพัง ทวยหน้าหลังต้อนผ้าย ทวยขวาซ้ายต้อนพล เข้าผจญจู่โจม โหมหักหาญราญรบ ต่างท่าวทบระนับ ต่างท่าวทับระนาด บ้างตนขาดหัวหวิ้น บ้างขาดิ้นแขกเด็ด บอยากกระหนาบหน้าหลัง ไทยประนังน้อยแง่ แผออกรลบมิรอด ถอดถอยท้อรอรับ มอญขยับยกตาม หลากเหลือล้นพลเต้า เสียงปืนตึงตื่นเร้า เร่งครื้นเครงครึก อยู่นา
โคลง๒
๏ พันลึกล่มลั่นฟ้า                  เฉกอสุนีผ่าหล้า
แหล่งเพี้ยงพก แลนา
๏ ดังตรลบโลกแล้                   ฤๅบ่ร้างรู้แพ้
ชนะผู้ใดดาล ฉงนนา
๏ สองฝ่ายหาญใช่ช้า              คือสีหสู้สีหกล้า
ต่อแกล้วในกลาง สมรนา

ถอดคำประพันธ์
ฝ่ายกองตระเวนของมอญ ซึ่งได้รับคำสั่งให้มาสืบข่าวดูกองทัพไทยซึ่งจะออกมาต่อสู้ต้านทานจะได้นำ ข่าวมาพระมหาอุปราชา สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วน พร้อมด้วยกองม้าจำนวน 500 คน ได้ไปพบกองทัพไทยตั้งค่ายรอรับอยู่ที่หนองสาหร่ายจึงรีบกลับไปทูลแด่องค์พระ มหาอุปราชา พระองค์ตรัสถามนายกองทั้งสามว่าประมาณกำลังพลฝ่ายไทยประมาณเท่าใด นายกองกราบทูลว่า ประมาณสิบ – สิบแปด หมื่น ดูเต็มท้องทุ่ง พระมหาอุปราชาตรัสว่ากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ออกมารอรับทัพเป็นกองใหญ่ แต่กำลังน้อยกว่าของเรา ของเรามากกว่าหลายส่วน  เราจะต้องรีบโจมตีหักเอาให้ได้ตั้งแต่แรกจะได้ เบาแรง แล้วจะได้ไปล้อมกรุงศรีอยุธยาชิงเอาราชสมบัติเห็นจะได้เมืองโดยสะดวก แล้วรับสั่งให้ขุนพลเตรียมทัพให้เสร็จแต่ 3 นาฬิกา พอ 5 นาฬิกา ก็ยกไปโดยกะสว่างเอาข้างหน้า พรุ่งนี้เช้าจะได้เข้าโจมตี เสนาผู้ใหญ่ได้ทำตามรับสั่ง เมื่อถึงเวลาตีห้า พระมหาอุปราชาแต่งองค์แล้วเสด็จประทับช้างพลายพัธกอซึ่งกำลังตกมัน พระยาศรีไสยณรงค์และพระราชฤทธานนท์ เมื่อได้รับพระบรมราชโองการให้ออกโจมตีข้าศึก จึงจัดทัพพร้อมด้วยกำลังพล 5 หมื่น และจัดทัพแบบตรีเสนา คือแบ่งเป็นทัพใหญ่ 3 ทัพ แต่ล่ะทัพแยกออกเป็น 3 กอง ดังนี้
กองหน้า เจ้าเมืองธนบุรี (นายกองหน้า ปีกซ้าย)
พระยาสุพรรณบุรี ( นายกองหน้า )
เจ้าเมืองนนทบุรี (นายกองหน้า ปีกขวา)
กองหลวง เจ้าเมืองสรรคบุรี (นายกอง ปีกซ้าย)
พระยาศรีไสยณรงค์ (แม่ทัพ ขี่ช้างพลายสุรงคเดชะ)
เจ้าเมืองสิงห์บุรี (นายกอง ปีกขวา)
กองหลัง เจ้าเมืองชัยนาท (นายกองหลัง ปีกซ้าย)
พระราชฤทธานนท์ (ปลัดทัพคุมกองหลัง)
พระยาวิเศษชัยชาญ (นายกองหลัง ปีกขวา)
ทัพไทยเคลื่อนออกจากหนองสาหร่ายถึงโคกเผาข้าวเวลาประมาณ 7 นาฬิกา ได้ปะทะกับทัพมอญ ทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้กันด้วยอาวุธชนิดเดียวกันเป็นคู่ๆ ด้วยความสามารถ ต่างฝ่ายก็ล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่เหลือก็ต่อสู้กันอย่างไม่เกรงกลัว กองทัพมอญที่ตามมามีมากขึ้น ตีโอบล้อมกองทัพไทย ฝ่ายไทยกำลังน้อยกว่า กระจายออกรับไม่ไหว จึงต้องถอย
ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถก็ทรงเตรียมกำลังทหารไว้อย่างพร้อมเพรียงตั้งแต่ยังไม่สว่าง จนแสงเงินแสงทองจับขอบฟ้า

ตอนที่ ๖ พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ

(ร่าย)       กษณะนั้นนเรนทร์ไท้ ธให้โหรหามมหุติฤกษ์ ซึ่งจะเบิกพยุหบาตรา จึ่งพระโหราผู้รู้โศลก หลวงญาณโยคโลกทีป รีบคำนวณทำนาย ถวายพยากรณ์แก่ไท้ ท้าวธได้จัตุรงคโชค อาจปราบโลกลาญรงค์ เชิญบาทบงสุ์เสด็จคลา จากอโยธยายามเช้า เข้ารวิวารมหันต์ วันสิบเอ็ดขึ้นค่ำย่ำรุ่งสองนาฬิกา เศษสังขยาห้าบาท ในบุษยมาสดฤษถี ศรีสวัสดิ์ฤกษ์อุดม บรมนรินทร์ดาลสดับ ธให้ตรวจทัพเตรียมพล โดยชลมารคพยู่ห์ สู่ตำบลปากโมก ครั้นณวันโชควันยาม พยุหสงครามเขาตรวจ ทุกหมู่หมวดสรรพเสร็จ จึ่งสมเด็จภูวนาถ กับบรมราชอนุชา ธก็สรงธาราเสาวรภย์ ตรลบสุคนธกำจร ทรงบวรวิภูษา รัตพัสตราครูเนตร ชายแครงเทศเถือกพร้อย ชายไหวห้อยเห็นเพรา พิศสนับพลายรรยง ฉลองพระองค์แลเลิศ ทับทรวงเพริศพรายพริ้ง สะอิ้งรัตนไพฑูรย์ แก้วเกยูรสวมหัตถ์ แสงนพรัตน์มลังเมลือง เรืองธำมรงค์รุ้งร่วง ช่วงพรรเหาเก้าแก้ว แพร้วพรายนิ้วอัษฎางค์ พลางสองกษัตริย์สวมทรง อลงกตกาญจนมกุฎ แสงเพชรผุดพุ่งแพร้ว แก้เก้ากอบแกมมาศ นาดกรกรายทายธนู ดูสองเจ้าจอมสยาม เฉกลักษณ์รามรอนราพณ์ ปราบอเรนทร์ทุกด้าว พลางบพิตรไทท้าว ท่านเยื้องยังฉนวน น้ำนา ฯลฯ
๏ ครั้นควรพิชัยฤกษ์พร้อม                   เพรียงสมัย
โหรคระหึมฆ้องชัย                               กึกก้อง
พฤฒิพราหมณ์พรอกมนตร์ไสย          สังข์เป่า  ถวายนา
แตรตรลบเสียงซ้อง                             แซ่ซั้นบรรสาน  ฯลฯ
(ร่าย)       พลันขยายพยุหบาตรา คลาเข้าโขลนทวาเรศ สงฆ์สวดชเยศพุทธมนต์ ปรายประชลเฉลิมทัพ ตามตำรับราชรณยุทธ์  โบกกบี่ธุชคลาพล ยลนาวาดาดาษ ดูสระพราศสระพรั่ง คั่งคับขอบคงคา แลมเหาฬาร์พันลึก อธึกท้องแถวธาร ถับถึงสถานปากโมก จึ่งพระจอมโลกลือเดช เสด็จเถลิงนิเวศวังทาง พลางธให้ตรวจเตรียมพล โดยสถลพยุหบาตร บอกพระราชกำหนด กฎแก่ขุนทัพขุนพล จักยกหพลยาตรา ในเวลาล่วงค่ำ ย่ำสิบเอ็ดสามบาท ครั้นเข้าราษตรีสมัย ภูวไนยตรัสตริการ ซึ่งจะรอนราญอริราช ด้วยภิมุขมาตยากร จนจันทรลับเลื่อน เคลื่อนเข้าตติยยาม เจ้าจอมสยามไสยาสน์ เหนือบรมอาสน์ก่องแก้ว คล้ายคล้ายสิบทุ่มแคล้ว ท่านเคลิ้มหลับฝัน ใฝ่นา
โคลง๔
๏ เทวัญแสดงเหตุให้             สังหรณ์ เห็นแฮ
เห็นกระแสสาคร                   หลั่งล้น
ไหลลบวนาดอน                   แดนตก ทิศนา
พระแต่เพ่งฤๅพ้น                   ที่น้ำหนองสาย
๏ พระกรายกรย่างเยื้อง         จรลี
ลุยมหาวารี                             เรี่ยวกว้าง
พอพานพะกุมภีล์                   หนึ่งใหญ่ ไสร้นา
โถมปะทะเจ้าช้าง                  จักเคี้ยวขบองค์
๏ พระทรงแสงดาบแก้ว        กับกร
โจมประจักฟันฟอน             เฟื่องน้ำ
ต่างฤทธิ์ต่างรบรอบ              ราญชีพ กันแฮ
สระท้านทุกถิ่นท่าถ้ำ             ท่งท้องชลธี
๏ นฤบดีโถมถีบสู้                    ศึกธาร
ฟอนฟาดสุงสุมาร                  มอดม้วย
สายสินธุ์ซึ่งนองพนานต์        หายเหือด แห้งแฮ
พระเร่งปรีดาด้วย                  เผด็จเสี้ยนเศิกกษัย
๏ ทันใดดิลกเจ้า                     จอมถวัลย์
สร่างผทมถวิลฝัน                  ห่อนรู้
พระหาพระโหรพลัน            พลางบอก ฝันนา
เร็วเร่งทายโดยกระทู้            ที่ถ้อยตูแถลง
๏ พระโหรเห็นแจ้งจบ          ในมูล ฝันแฮ
ถวายพยากรณ์ทูล                  แต่ไท้
สุบินบดินทร์สูร                    ฝันใฝ่ นั้นฤๅ
หากเทพสังหรณ์ให้               ธิราชรู้เป็นกล
๏ นุสนธิ์ซึ่งน่านน้ำ                นองพนา สณฑ์เฮย
หนปัจฉิมทิศา                        ท่วมไซร้
คือทัพอริรา-                         มัญหมู่ นี้นา
สมดั่งลักษณ์ฝันไท้                ธเรศนั้นอย่าแหนง
๏ เหตุแสดงแห่งราชพ้อง      ภัยชลา
ได้แก่อุปราชา                        เชษฐ์ผู้
สงครามซึ่งเสด็จครา              นี้ใหญ่ หลวงแฮ
แท้จักถึงยุทธ์สู้                       ศึกช้างสองชน
๏ ซึ่งผจญอริราชด้วย             เดชะ
เพื่อพระเดโชชนะ                 ศึกน้ำ
คือองค์อมิตรพระ                     จักมอด เมือเฮย
เพราะพระหัตถ์หากห้ำ          หั่นด้วยขอคม
๏ เบื้องบรมขัตติย์ท่องท้อง  แถวธาร
พระจักไล่ลุยลาญ                  เศิกไสร้
ริปูบ่รอราญ                          ฤทธิ์ราช เลยพ่อ
พระจักชาญชเยศได้              ดั่งท้าวใฝ่ฝัน
โคลง ๒
๏ ครั้นบดินทร์ดาลได้           สดับพยากรณ์ไท้
ธิราชแผ้วพูนเกษม
๏ เปรมปรีดิ์ปราโมทย์แท้     เพราะพระโหรหากแก้
กล่าวต้องตามฝัน
๏ พระพลันทรงเครื่องต้น    งามประเสริฐเลิศล้น
แหล่งหล้าควรชม ชื่นนา
๏ สมเด็จอนุชน้องแก้ว          ทรงสุภาภรณ์แพร้ว
เพริศพร้อมเพราตา ยิ่งแฮ
(ร่าย)       สองขัติยายุรยาตรา ยังเกยราชหอทัพ ขุนคชขับช้างเทียบ ทวยหาญเพียบแผ่นภู ดูมหิมาดาดาษ สระพราศพร้อมโดยขบวน องค์อดิศวรสองกษัตริย์ คอยนฤขัตรพิชัย บัดเดี๋ยวไททฤษฎี พระศรีสารีริกบรมธาตุ ไขโอภาสโศภิต ช่วงชวลิตพ่างยล ส้มเกลี้ยงกลลุก่อง ฟ่องฟ้าฝ่ายทักษิณ ผินแวดวงตรงทัพ นับ คำรบสามครา เป็นทักษิณาวรรตเวียน ว่ายฉวัดเฉวียนอัมพร ผ่านไปอุดรโดยด้าว พลางบพิตรโทท้าว ท่านตั้งสดุดี อยู่นา ฯลฯ
โคลง๔
๏ พระเปรมปราโมทย์น้อม วันทนา
พลางพระทรงไอยรา            ฤทธิ์แกล้ว
พระคเชนทร์ชื่อไชยา-          นุภาพ พ้นแฮ
อาจเข่นคชศึกแผ้ว                 แผกแพ้ทุกภาย
๏ พลายปราบไตรจักรอ้าง    เอิกฤทธิ์
อาจปราบคชทุกทิศ                ทั่วไซร้
เอกาทศรถอิศ-                       วรเสด็จ ทรงนา
นำคเชนทเรศไท้                    ธิราชเจ้าจอมสยาม ฯลฯ

ถอดคำประพันธ์
ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรก็มีรับสั่งให้โหรหาฤกษ์ที่จะยกทัพหลวงไป หลวงญาณโยคและหลวงโลกทีปคำนวณพระฤกษ์ว่า พระนเรศวรได้จตุรงคโชคอาจปราบข้าศึกให้แพ้สงครามไป ขอเชิญเสด็จยกทัพออกจากพระนคร ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ เวลา 8.30 น. เมื่อได้มงคลฤกษ์ ทรงเคลื่อนพยุหยาตราเข้าโขลนทวาร พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่กองทัพเสด็จทางชลมารคไปประทับแรมที่ตำบลปาก โมก เมื่อประทับที่ปากโมก สมเด็จพระนเรศวรทรงปรึกษาการศึกอยู่กับขุนนางผู้ใหญ่จนยามที่สามจึงเสด็จ เข้าที่บรรทม ครั้นเวลา 4 นาฬิกา พระองค์ทรงพระสุบินเป็นศุภนิมิติ เรื่องราวราวในพระสุบินของสมเด็จพระนเรศวรมี ว่า พระองค์ได้ทอดพระเนตรน้ำไหลบ่าท่วมป่าสูง ทางทิศตะวันตก เป็นแนวยาวสุดพระเนตร และพระองค์ทรงลุยกระแสน้ำอันเชี่ยวและกว้างใหญ่นั้น จระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งโถมปะทะและจะกัดพระองค์ จึงเกิดต่อสู้กันขึ้น พระองค์ใช้พระแสงดาบฟันถูกจระเข้ตาย ทันใดนั้นสายน้ำก็เหือดแห้งไป พอตื่นบรรทมสมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนิมิตทันที พระโหราธิบดีถวายพยากรณ์ว่า พระสุบินครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะเทวดาสังหรให้ทราบเป็นนัย น้ำซึ่งไหลบ่าท่วมป่าทางทิศตะวันตกหมายถึงกองทัพของมอญ จระเข้คือพระมหาอุปราชา การสงครามครั้งนี้จะเป็นการใหญ่ ขนาดถึงได้กระทำยุตธหัตถีกัน การที่พระองค์เอาชนะจระเข้ได้แสดงว่าศัตรูของพระองค์จะต้องสิ้นชีวิตลงด้วย พระแสงของ้าว และที่พระองค์ทรงกระแสน้ำนั้น หมายความว่า พระองค์จะรุกไล่บุกฝ่าไปในหมู่ข้าศึกจนข้าศึกแตกพ่ายไปไม่อาจจะทานพระบรมเด ชานุภาพได้ พอใกล้ฤกษ์ยกทัพ สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถเสด็จไปยังเกยทรงช้างพระที่นั่ง คอยพิชัยฤกษ์อยู่ทันใดนั้นพระองค์ทอดพระเนตรพระบรมสารีริกธาตุส่องแสงเรือง งาม ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง ลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้หมุนเวียนรอบกองทัพเป็นทักษิณาวรรค 3 รอบ แล้วลอยวนไปทางทิศเหนือ สมเด็จพระพี่น้องทั้งสองพระองค์ทรงปิติยินดีตื้นตันพระทัย ทรงสรรเสริญและนมัสการ อธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุนั้นบันดาลให้พระองค์ชนะข้าศึก แล้วสมเด็จพระนเรศวรเสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาไชยานุภาพ สมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร เคลื่อนขบวนทัพพยุหยาตราต่อไปรเสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาไชยานุภาพ สมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร เคลื่อนขบวนทัพพยุหยาตราต่อไป

ตอนที่ ๕ สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ


(ร่าย)       แล้วธบรรหารตระบัด ว่าเราจัดจตุรงค์ จะไปยงยอยุทธ์ ยังกัมพุชพารา ศึกมอญมาชิงควัน กันบให้ไปออก บอกให้เต้าโดยตก ควรจักยกไปยุทธ์ เป็นมหุสสวมหันต์ ปันเอาชัยชิงชื่น แล้วธก็อื้นออกพจน์ พระราชกฎประกาศ แก่เมืองราชบุรี เกณฑ์โยธีห้าร้อย คะค้อยไปซุ่มซ่อน ดูศึกผ่อนพลเดิน ผ่านลำกระเพินโดยสะพาน เพ่งพลหาญเห็นเสร็จ ให้ระเห็จเข้าหั่น บั่นเรือกขาดเป็นท่อน ค่อนพวนขาดเป็นทุ่น เถกิงกรานกรุ่นพลวกเผา อย่าให้เขาจับได้ เขากระดั่งไท้ ธิราชเอื้อนโองการ สั่งนา
โคลง๔
๏ นฤบาลสารเสร็จอ้าง           ไป่ทัน  หึงแฮ
ถับทูตทุกเขตขัณฑ์             ด่านด้าว
สิงห์สรรค์สุพรรณบรร-        ลุถิ่น  ท่านนา
เขาเร่งนำเฝ้าท้าว                  ถั่งถ้อยแถลงทูล
๏ บดีศูรสั่งให้อ่าน                สารา
พระราชรับบัญชา                  ท่านไซร้
แถลงลักษณะทุกธา-             นีบอก  มานา
เสนอยุบลข่าวใกล้                 ศึกตั้งในแดน
๏ บัดมอญแล่นม้าลาด           เลยแขวง
วิเศษชัยชาญแสดง                  ข่าวซ้ำ
เขานำอักษรแถลง                 ถวายดับ  นั้นนา
พระเร่งชื่นฤๅช้ำ                    ที่ข้อเข็ญความ
๏ จอมสยามขามศึกไซร้        ไป่มี
บานกลเปรมปรีดิ์                  ปราบเสี้ยน
สองสุริยกษัตริย์                     ตรัสต่อ  กันแฮ
หาเลศมลายศึกเหี้ยน              หั่นห้าวหายคม
๏ สมเด็จเผยโอษฐ์อื้น            ปรึกษา
แด่ภิมุขมาตยา                        ทั่วผู้
จักโรมอริรา-                         มัญเมื่อ  นี้แฮ
รับที่ถิ่นฤๅสู้                           นอกไซร้ไหนควร
๏ ทั้งมวลหมู่มาตย์ซ้อง         สารพลัน
ทูลพระจอมจรรโลง             เลื่องหล้า
แถลงลักษณะปางบรรพ์      มาเทียบ  ถวายแฮ
แนะที่ควรเสด็จค้า                 เศิกไซร้ไกลกรุง ฯลฯ
๏ โทไท้ทรงสดับถ้อย          ทูลถวาย
ถูกหฤทัยท่านผาย                  โอษฐ์พร้อง
สูตริก็ตรงหมาย                     เหมือนตริ  ตูนา
ตริบ่ต่างกันต้อง                     ต่อน้ำใจตู
๏ ภูธรสั่งให้เทียบ                  โยธี  ทัพแฮ
ห้าหมื่นหมายบัญชี                เรียกได้
เกณฑ์เมืองจัตวาตรี               ไตรตรวจ  เอานา
ยี่สิบสามเมืองใต้                    เตรียบตั้งต่อฉาน
๏บรรหารให้จัดผู้                  อาจอง
เอาพระศรีไสยณรงค์             ฤทธิ์ห้าว
เป็นจอมพยุหยง                     ไปยั่ว  ยุทธแฮ
นำนิกรทัพท้าว                      ออกร้ารอนเข็ญ
๏ พระเห็นจักเปลี่ยวข้าง      ขุนพล
เยียวบ่มีเพื่อนผจญ                 จึ่งใช้
พระราชฤทธานนท์               หนึ่งช่วย  กันนา
เป็นปลัดทัพให้                      ศึกสู้ทั้งสอง
๏ กองหน้านฤนาทตั้ง            เสร็จสาร  สั่งแฮ
เร็วเร่งห้ำหั่นหาญ                  หักกล้า
บ่แตกต้านทาน                      มันรอด  ไซร้ฤๅ
กูจักออกโรมร้า                      ศึกร้ายภายหลัง
๏ ทั้งสองรับถ้อยท่าน           ทูลลา  แลเฮย
ยกพยุหแสนยา                       ย่างย้าย
โดนแดนทุกราธวา                วายถิ่น
ถึงนี่หนองสาหร่ายท้าย         ทุ่งกว้างทางหลวง
๏ ปวงทัพปลูกค่ายสร้าง       กลางสมร
ภูมิพยุหไกรสร                      ศึกตั้ง
เสนาพลากร                           ต่างรื่น  เริงแฮ
คอยจักยอยุทธ์ยั้ง                  อยู่ถ้าทางเข็ญ

ถอดคำประพันธ์
สมเด็จ พระนเรศวรมีพระราชดำรัสว่า เราเตรียมทัพจะไปตีเขมร ศึกมอญกลับมาชิงตัดหน้า ไม่ให้เราไปรบเขมร เราจะได้ยกไปทำสงครามเพื่อเป็นการรื่นเริงครั้งยิ่งใหญ่ และจะต้องเอาชนะให้ได้ก่อน แล้วพระองค์ก็มีรับสั่งให้ประกาศแก่เมืองราชบุรีให้เกณฑ์ทหารจำนวน 500 คน ไปซุ่มดูข้าศึกขณะกำลังข้ามสะพานที่ลำกระเพินและให้รีบตัดสะพานให้ขาด จุดไฟเผาอย่าให้เหลือ แล้วให้หลบหนีกลับมาอย่าให้ข้าศึกจับได้ พอรับสั่งเสร็จ ทูตจากเมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณบุรี ก็มาถึง เขาก็เบิกตัวเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลเรื่องราวและถวายสารให้ทรงทราบว่า ขณะนี้กองทัพมอญลาดตระเวนเข้ามาถึงเขตเมืองวิเศษไชยชาญแล้ว สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงเกรงกลัวข้าศึกแม้แต่ น้อย กลับโสมนัสที่จะได้ปราบข้าศึก ทั้งสองพระองค์ปรึกษาถึงกลศึกที่จะรับมือกับมอญ ขุนนางได้ถวายคำแนะนำให้ออกไปรับข้าศึกที่นอกกรุงศรีอยุธยา ความคิดนี้ตรงกลับพระดำริของพระองค์ แล้วมีรับสั่งให้จัดทัพกำลังพลห้าหมื่น เกณฑ์จากหัวเมืองตรีและจัตวา 23 หัว เมืองใต้ เป็นทัพหน้า ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพ พระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพ โดยให้กองหน้าออกไปต่อสู้ข้าศึก หากสู้ไม่ได้พระองค์จะออกไปต่อสู้ในภายหลัง ทั้งสองแม่ทัพรับพระบรมราชโองการแล้วก็ยกทัพไปตั้งอยู่ตำบลหนองสาหร่าย โดยตั้งค่ายเป็นรูปภูมิพยุหไกรสร ทหารทั้งปวงก็ขวัญดีมีความรื่นเริงทั่วหน้า ตั้งรอทัพข้าศึกอยู่

ตอนที่ ๔ สมเด็จพระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร

โคลง๔
๏ ปางนั้นนฤเบศเบื้อง           บูรพา ภพแฮ
เฉลิมพิภพอโยธยา               ยิ่งผู้
พระเดชดั่งรามรา-                 ฆพเข่น เข็ญเฮย
ออกอเรนทร์รั่วรู้                   เร่งร้าวราญสมร
๏ ภูธรสถิตท้อง                     โรงธาร ท่านฤๅ
เถลิงภิมุขพิมาน                     มาศแต้ม
มนตรีชุลีกราน                      กราบแน่น เนืองนา
บัดบดีศวรแย้ม                      โอษฐ์เอื้อนปราศรัย
๏ ไต่ถามถึงทุกข์ถ้อย            ทวยชน
ต่างสนองเสนอกล                แก่ท้าว
พระดัดคดีผล                         ใดเยี่ยง ยุกดิ์นา
เย็นอุระฤๅร้าว                       ราษฎร์ร้อนห่อนมี
๏ นฤบดีดำรัสด้วย                 การยุทธ์
ซึ่งจักยอกัมพุช                      แผ่นโพ้น
พลบกยกเอาอุต-                    ดมโชค ชัยนา
นับดฤษถีนี้โน้น                    แน่นั้นวันเมือ
๏ พลเรือพลรบท้อง              ทางชลา
เกณฑ์แต่พลพารา                 ปักษ์ใต้
ไปตีพุทไธธา-                        นีมาศ เมืองเฮย
ตีป่าสักเสร็จให้                      เร่งล้อมขอมหลวง
๏ พระห่วงแต่เสี้ยน               อัสดง
เกรงกระลับก่อรงค์               รั่วหล้า
คือใครจักคุมคง                     ควรคู่ เข็ญแฮ
อาจประกันกรุงถ้า                 ทัพข้อยคืนถึง
๏ พระพึงพิเคราะห์ผู้             ภักดี ท่านนา
คือพระยาจักรี                        กาจแกล้ว
พระตรัสแด่มนตรี                  มอบมิ่ง เมืองเฮย
กูจักไกลกรุงแก้ว                 เกลือกช้าคลาคืน
๏ เยียวพื้นภพแผ่นด้าว          ตกไถง
ริพิบัติพูนภัย                          เพิ่มพ้อง
สูกันนครใจ                           ครอเคร่า กูเฮย
กูจักพลันคืนป้อง                 ปกหล้าแหล่งสยาม
๏ สงครามพึ่งแผกแพ้             เสียที
แตกเมื่อต้นปีไป                    ห่อนช้า
บร้างกระลับมี                       มาขวบ นี้เลย
มีก็มีปีหน้า                             แน่แท้กูทาย
๏ ทั้งหลายสดับถ้อยท่าน      บรรหาร หนเฮย
ยังบ่เยื้อนสนองสาร               ใส่เกล้า
บัดทูตนครกาญ-                    จนถับ ถึงแฮ
พระยาอามาตย์นำเฝ้า             บอกเบื้องเคืองเข็ญ ฯลฯ
โคลง๒
๏ พระเปรมปราโมทย์ไซร้   ซึ่งบดินทร์ดาลได้
สดับเบื้องบอกรงค์
๏ ธให้หาองค์น้องท้าว          แถลงยุบลเหตุห้าว
ท่านแจ้งทุกอัน แลนา

ถอดคำประพันธ์
ขณะนั้น สมเด็จพระนเรศวรประทับออกขุนนางอยู่ในท้องพระโรง ได้มีพระราชดำรัสถามถึงทุกข์สุขของปวงชน ขุนนางก็กราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ทรงตัดสอนคดีด้วยความยุติธรรม ราษฎรก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข แล้วพระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงการที่จะยกทัพไป ตีเขมร โดยกำหนดวันที่จะยกทัพออกไป ส่วนทัพเรือจะให้เกณฑ์หัวเมืองปักษ์ใต้เพื่อยกไปตีเมืองพุทไธมาศและเมืองบัก สักแล้ว ให้เข้าล้อมเมืองหลวงของเขมรไว้ พระองค์ทรงพระวิตกว่าพม่าจะยกกองทัพมา จะได้ให้ใครอยู่ป้องกันบ้านเมืองรอพระองค์เสด็จกลับมา ทรงเห็นว่าพระยาจักรีเป็นผู้ที่เหมาะสมก็ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาบ้าน เมือง แต่ทรงคาดคะเนว่าทัพพม่าพึ่งจะแตกไปเมื่อต้นปี ปีนี้คงจะยังไม่ยกมา ถ้ามีก็เห็นจะเป็นปีหน้า ขณะที่ทรงปรึกษากันอยู่นั้น ทูตเมืองกาญจนบุรีก็มาถึง และกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระองค์กลับทรงยินดีที่ได้รับข่าวศึก จึงให้พระเอกาทศรถเข้าเฝ้าเพื่อแจ้งข่าวให้ทราบ

ตอนที่ ๓ พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี

โคลง๔
๏ ปางนั้นนฤเบศเบื้อง           บูรพา ภพแฮ
เฉลิมพิภพอโยธยา               ยิ่งผู้
พระเดชดั่งรามรา-                 ฆพเข่น เข็ญเฮย
ออกอเรนทร์รั่วรู้                   เร่งร้าวราญสมร
๏ ภูธรสถิตท้อง                     โรงธาร ท่านฤๅ
เถลิงภิมุขพิมาน                     มาศแต้ม
มนตรีชุลีกราน                      กราบแน่น เนืองนา
บัดบดีศวรแย้ม                      โอษฐ์เอื้อนปราศรัย
๏ ไต่ถามถึงทุกข์ถ้อย            ทวยชน
ต่างสนองเสนอกล                แก่ท้าว
พระดัดคดีผล                         ใดเยี่ยง ยุกดิ์นา
เย็นอุระฤๅร้าว                       ราษฎร์ร้อนห่อนมี
๏ นฤบดีดำรัสด้วย                 การยุทธ์
ซึ่งจักยอกัมพุช                      แผ่นโพ้น
พลบกยกเอาอุต-                    ดมโชค ชัยนา
นับดฤษถีนี้โน้น                    แน่นั้นวันเมือ
๏ พลเรือพลรบท้อง              ทางชลา
เกณฑ์แต่พลพารา                 ปักษ์ใต้
ไปตีพุทไธธา-                        นีมาศ เมืองเฮย
ตีป่าสักเสร็จให้                      เร่งล้อมขอมหลวง
๏ พระห่วงแต่เสี้ยน               อัสดง
เกรงกระลับก่อรงค์               รั่วหล้า
คือใครจักคุมคง                     ควรคู่ เข็ญแฮ
อาจประกันกรุงถ้า                 ทัพข้อยคืนถึง
๏ พระพึงพิเคราะห์ผู้             ภักดี ท่านนา
คือพระยาจักรี                        กาจแกล้ว
พระตรัสแด่มนตรี                  มอบมิ่ง เมืองเฮย
กูจักไกลกรุงแก้ว                 เกลือกช้าคลาคืน
๏ เยียวพื้นภพแผ่นด้าว          ตกไถง
ริพิบัติพูนภัย                          เพิ่มพ้อง
สูกันนครใจ                           ครอเคร่า กูเฮย
กูจักพลันคืนป้อง                 ปกหล้าแหล่งสยาม
๏ สงครามพึ่งแผกแพ้             เสียที
แตกเมื่อต้นปีไป                    ห่อนช้า
บร้างกระลับมี                       มาขวบ นี้เลย
มีก็มีปีหน้า                             แน่แท้กูทาย
๏ ทั้งหลายสดับถ้อยท่าน      บรรหาร หนเฮย
ยังบ่เยื้อนสนองสาร               ใส่เกล้า
บัดทูตนครกาญ-                    จนถับ ถึงแฮ
พระยาอามาตย์นำเฝ้า             บอกเบื้องเคืองเข็ญ ฯลฯ
โคลง๒
๏ พระเปรมปราโมทย์ไซร้   ซึ่งบดินทร์ดาลได้
สดับเบื้องบอกรงค์
๏ ธให้หาองค์น้องท้าว          แถลงยุบลเหตุห้าว
ท่านแจ้งทุกอัน แลนา

ถอดคำประพันธ์
ขณะนั้น สมเด็จพระนเรศวรประทับออกขุนนางอยู่ในท้องพระโรง ได้มีพระราชดำรัสถามถึงทุกข์สุขของปวงชน ขุนนางก็กราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ทรงตัดสอนคดีด้วยความยุติธรรม ราษฎรก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข แล้วพระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงการที่จะยกทัพไป ตีเขมร โดยกำหนดวันที่จะยกทัพออกไป ส่วนทัพเรือจะให้เกณฑ์หัวเมืองปักษ์ใต้เพื่อยกไปตีเมืองพุทไธมาศและเมืองบัก สักแล้ว ให้เข้าล้อมเมืองหลวงของเขมรไว้ พระองค์ทรงพระวิตกว่าพม่าจะยกกองทัพมา จะได้ให้ใครอยู่ป้องกันบ้านเมืองรอพระองค์เสด็จกลับมา ทรงเห็นว่าพระยาจักรีเป็นผู้ที่เหมาะสมก็ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาบ้าน เมือง แต่ทรงคาดคะเนว่าทัพพม่าพึ่งจะแตกไปเมื่อต้นปี ปีนี้คงจะยังไม่ยกมา ถ้ามีก็เห็นจะเป็นปีหน้า ขณะที่ทรงปรึกษากันอยู่นั้น ทูตเมืองกาญจนบุรีก็มาถึง และกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระองค์กลับทรงยินดีที่ได้รับข่าวศึก จึงให้พระเอกาทศรถเข้าเฝ้าเพื่อแจ้งข่าวให้ทราบ